สายพันธุ์ข้าวและประเภทของข้าวในประเทศไทย

ปัจจัยสำคัญต่อผลผลิตและคุณภาพของสายพันธุ์ข้าว

พันธุ์ข้าวเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญอันดับแรก ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว โดยไม่ต้องเพิ่มต้นทุนทางการผลิต ถ้าหากว่ามีพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพทั้งข้าวคุณภาพดี ข้าวคุณภาพปลานกลาง ข้าวคุณภาพต่ำ และข้าวคุณภาพพิเศษที่ตรงกับความต้องการของตลาดและเพื่อทำผลิตภัณฑ์ มีความต้านทานต่อโรคแมลงและมีความเหมาะสมกับสภาพแววล้อมในแต่ละท้องถิ่นแล้วจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการผลิตข้าว หรือเป็นการลดต้นทุนการผลิตได้เป็นอย่างดี
     จากอดีตถึงปัจจุบัน สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าวได้กำเนินงานปรับปรุงพันธุ์ข้าวมาอย่างต่อเนื่องจนได้ข้าวพันธุ์รับรอง พันธุ์แนะนำ และพันธุ์ทั่วไปให้เกษตรกรปลูกในระบบนิเวศต่างๆ ซึ่งมีทั้งพันธุ์ข้าวนาสวน ข้าวไร่ ข้าวขึ้นน้ำ ข้าวน้ำลึก ธัญพืชเมืองหนาว และข้าวญี่ปุ่น จำนวน 99พันธุ์ พันธุ์ข้าวเหล่านี้มีทั้งชนิดข้าวเจ้าและข้าวเหนียว มีทั้งพันธุ์ที่ปลูกเฉพาะนาปีและปลูกได้ตลอดปี และมีบางพันธุ์เป็นข้าวหอม พันธุ์ข้าวส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูง มีความ
ต้านทานโรคและแมลงที่สำคัญ มีคุณภาพการหุงต้นตามความต้องการของผู้บริโภค ตลอดจนทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เป็นปัญหาสำคัญ

รายชื่อพันธุ์ข้าว

กลุ่มพันธุ์ข้าว
รายชื่อพันธุ์ข้าว
จำนวน (พันธุ์)
ข้าวนาสวนวัยต่อช่วงแสง
กข5, กข6, กข13,  กข15,  กข27, กำผาย15, เก้ารวง88, แก่นจันทร์ขาวหอมมะลิ105, ขาวตาแห้ง17, ขาวปากหม้อ148, ข้าวหลวงสันป่าตอง, ข้าวจ้าวหอมพิษณุโลก, เฉี้องพัทลุง, ชุมแพ60, นางพญา132, นางมล เอส-4,  น้ำสะกุย19, เผือกน้ำ43, ปทุมธานี60, พวงไร่2, พัทลุง60, พิษณุโลก3, พิษณุโลก60-1, ลูกแดงปัตตานี, เล็บนกปัตตานี, หางยี71, เหมยนอง62เอ็ม, เหนียวสันป่าตอง, เหนียวอุบล1, เหนียวอุบล2, เหลืองประทิว123, เหลืองใหญ่148, เข็มทองพัทลุง
36 พันธุ์
ข้าวนาสวนไม่ไวต่อช่วงแสง
กข1, กข2, กข3, กข4, กข7, กข9, กข10, กข11, กข21, กข23, กข25, ข้าวจ้าวหอมคลองหลวง1, ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี, ชัยนาท1, ชัยนาท2, ปทุมธานี1, บางแตน, พัทลุง, พิษณุโลก2, พิษณุโลก60-2, แพร่1,  สกลนคร, สันป่าตอง1, สุพรรณบุรี2, สุพรรณบุรี3, สุพรรณบุรี60, สุพรรณบุรี90, สุรินทร์1
29 พันธุ์
ข้าวขึ้นน้ำไวต่อช่วงแสง
ตะเภาแก้ว161, นางฉลอง, ปิ่นแก้ว56, พลายงามปราจีนบุรี3, เล็บมือนาง111
5 พันธุ์
ข้าวน้ำลึกไวต่อช่วงแสง
กข19, หันตรา60, ปราจีนบุรี1, ปราจีนบุรี2, อยุธยา1
5 พันธุ์
ข้าวน้ำลึกไม่ไวต่อช่วงแสง
กข17
1 พันธุ์
ข้าวไร่ไวต่อช่วงแสง
กู้เมืองหลวง, ขาวโป่งไคร้, เจ้าฮ้อ, ซิวแม่จัน, ดอกพยอม, น้ำรู, เจ้าลีซอสันป่าตอง
7 พันธุ์
ข้าวไร่ไม่ไวต่อช่วงแสง
อาร์258
1 พันธุ์
ข้าวแดงหอมไวต่อช่วงแสง
ข้าวหอมแดง, สังข์หยดพัทลุง
2 พันธุ์
ข้าวแดงหอมไม่ไวต่อช่วงแสง
ข้าวหอมกุหลาบแดง
1 พันธุ์
ข้าวญี่ปุ่น
กวก.1, กวก.2
2 พันธุ์
ข้าวสาลี
สะเมิง1, สะเมิง2 ,แพร่60, ฝาง60
4 พันธุ์
ข้าวบาร์เลย์
สะเมิง1, สะเมิง2
2 พันธุ์

กรมการข้าว ได้รับรองพันธุ์ข้าวเพิ่มขึ้น

พ.ศ. 2550 กรมการข้าว ได้รับรองพันธุ์ข้าวเพิ่มขึ้น มีทั้งข้าวจ้าว และข้าวเหนียว หรือทั้งข้าวไวและไม่ไวต่อช่วงแสง มีพื้นที่แนะนำแตกต่างกันไป ตั้งแต่ภาคเหนือ จนถึงภาคใต้ หรือตั้งแต่พื้นที่ที่เป็นที่สูง จนถึงที่ราบทั่วไปรวมพันธุ์ข้าวที่ผ่านการรับรองใหม่ 8 พันธุ์ดังนี้
พันธุ์ข้าว กข29 (ชัยนาท 80) เป็นพันธุ์ข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง อายุสั้น อายุเก็บเกี่ยว 99วัน

พันธุ์ข้าว กข29 (ชัยนาท 80)

เป็นพันธุ์ข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง อายุสั้น อายุเก็บเกี่ยว 99วันในฤดูนาปรัง และ103วันในฤดูนาปี ค่อนข้างต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในภาคเหนือตอนล่าง และโรคขอบใบแห้ง ผลผลิตประมาณ 876 กิโลกรัมต่อไร่ ไม่ทนทานต่ออากาศหนาวเย็นในขณะตั้งท้องถึงออกดอก ไม่ควรปลูกในช่วงกลางเดือนกันยายน ถึงปลายพฤศจิกายน เพราะจะมีเมล็ดลีบมาก ผลผลิตต่ำ ปริมาณอมิโลส 26.6-29.4%
    
ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ในเขตจังหวัดนครปฐม ปทุมธานี ราชบุรี และฉะเชิงเทรา
พันธุ์ข้าว กข31 (ปทุมธานี 80) เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยว 111 วัน

พันธุ์ข้าว กข31 (ปทุมธานี 80)

เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยว 111 วัน เมื่อปลูกโดยวิธีนาหว่านน้ำตม และ118วัน เมื่อปลูกโดยวิธีปักดำ
ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดหลังขาว ค่อนข้างต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โรคใบแห้ง โรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคเมล็ดด่าง ผลผลิตเฉลี่ย 745 กิโลกรัมต่อไร่ (ปักดำ) และ 738 กิโลกรัมต่อไร่ (นาหว่านน้ำตม) คุณภาพเมล็ดทางกายภาพสม่ำเสมอ กว่าพันธุ์สุพรรณบุรี 1 ปริมาณอมิโลส 27.3-29.8% ผลผลิตสูงกว่าผลผลิตของพันธุ์สุพรรณบุรี 1 ประมาณ 5%
    
ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรคไหม้ โรคใบหงิก และโรคใบสีส้ม
พันธู์ข้าว กข33 (หอมอุบล 80) เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเกี่ยว 130 วัน

พันธู์ข้าว กข33 (หอมอุบล 80)

เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเกี่ยว 130 วัน ผลผลิตเฉลี่ย 493 กิโลกรัมต่อไร่ ต้านทานเชื้อราสาเหตุโรคไหม้หลายสายพันธุ์ ที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคภาคเหนือตอนบน คุณภาพเมล็ดทางกายภาพ คุณสมบัติทางเคมีและคุณภาพการหุงต้มและรับประทาน ใกล้เคียงพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ปริมาณอมิโลส 14.0-16.8%
   
ข้อควรระวัง ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
พันธู์ข้าว กข35 (รังสิต 80) เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคม

พันธู์ข้าว กข35 (รังสิต 80)

เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคม ผลผลิตเฉลี่ย 650 กิโลกรัมต่อไร่ (ปักดำ) เจริญเติมโตและให้ผลผลิตดีในดินเปรี้ยว เฉลี่ย 600 กิโลกรัมต่อไร่ ปริมาณอมิโลส 26.1-29.3% คุณภาพเมล็ดดี เมื่อสีเป็นข้าวสาร ทำข้าวสาร 100% ได้คุณภาพการสีดี ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าว 49.7% จัดเป็นข้าวเสาไห้
    
ข้อควรระวัง ค่อนข้างต้านทานต่อโรคขอบใบแห้งและเพลี่ยกระโดดหลังขาว ค่อนข้างอ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
พันธุ์ข้าว กข12 (หนองคาย 80) เป็นข้าวเหนียวไวต่อช่วงแสง อายูเก็บเกี่ยวประมาณ 5-25

พันธุ์ข้าว กข12 (หนองคาย 80)

เป็นข้าวเหนียวไวต่อช่วงแสง อายูเก็บเกี่ยวประมาณ 5-25 พฤศจิกายน อายุเบากว่าพันธุ์ กข6 ประมาณ 10วัน ปลูกในพื้นที่นาค่อนข้างดอน ค่อนข้างต้านทานต่อโรคไหม้ในหลายท้องที่ มีคุณภาพหุงต้มและรับประทานดี เป็นที่ยอมรับของเกษตรกร ผลผลิตเฉลี่ย 422-522 กิโลกรัมต่อไร่
    
ข้อควรระวัง อ่อนแอต้อโรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
พันธุ์ข้าว เจ้าขาวเชียงใหม่ เป็นข้าวไร่ข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยวประมาณวันที่ 20

พันธุ์ข้าว เจ้าขาวเชียงใหม่

เป็นข้าวไร่ข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยวประมาณวันที่ 20 ตุลาคม ปลูกได้ในพื้นที่ระดับความสูง 800-1,250เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ผลผลิตเฉลี่ย 350 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อปลูกในพื้นที่ระดับความสูงไม่เกิน 1,000เมตร จากระดับน้ำทะเลปลานกลาง และ 389 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อปลูกในพื้นที่ระดับความสูง 1,000-1,300 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง คุณภาพสีดี ให้เปอร์เซนต์ต้นข้าวและข้าวเต็มเมล็ดสูง ข้าวสุกอ่อนนุ่ม ปริมาณอมิโลส 18.7% ต้านทานต่อโรคไหม้
    
ข้อควรระวัง ค่อนข้างอ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดหลังขาวในสภาพธรรมชาติ
พันธุ์ข้าว พิษณุโลก 80 เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยวต้นเดือนธันวาคม

พันธุ์ข้าว พิษณุโลก 80

เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยวต้นเดือนธันวาคม ให้ผลผลิตสูง เสถียรภาพในการให้ผลผลิตดีในสภาพแววล้อมที่แตกต่างกัน คุณภาพเมล็ดดี เป็นท้องไข่น้อย ผลผลิตเฉลี่ย 637 กิโลกรัมต่อไร่ ปริมาณอมมิโนส 17.3%
    
ข้อควรระวัง ไม่ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคไหม้ในจังหวัดพิษณุโลก และค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้ง
พันธุ์ข้าว สังหยดพัทลุง เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณวันที่ 10

พันธุ์ข้าว สังหยดพัทลุง

เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณวันที่ 10 กุมภาพันธุ์ เมือปลูกตามฤดูนาปีภาคใต้ (ปักดำกลางเดือนกันยายน) มีเยื้อหุ้มเมล็ดสีแดง ข้าวกล้องเมื่อหุงสุกนุ่มเล็กน้อย ส่วนข้าวซ้อมมือเมื่อหุงสุกนุ่ม ผลผลิตเฉลี่ย 330 กิโลกรัมต่อไร่ ปริมาณอมิโลส 15.2% ข้าวกล้องมีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าพันธุ์เล็บปัตตานี จากตัวอย่างข้าวกล้อง 100กรัม มีปริมาณไนอะซิน (Niacin) 6.46 มิลลิกรัม ใยอาหาร 4.84กรัม และธาตุเหล็ก 0.52มิลลิกรัม
    
ข้อควรระวัง ไม่ต้านทานโรคไหม้ ไม่ควรปลูกใกล้เคียงกับแปลงปลูกข้าวขาว และควรแยกเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้โดยเฉพาะ
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
โรงงานพลาสติก L.A PLastic
129/20 หมู่4 ซ.เพชรเกษม99 แยก 5
ต.อ้อมน้อย อ. กระทุ่มแบน
จ.สมุทรสาคร 74130 ประเทศไทย

TEL: 081-903-4147

Email: la2plastic@gmail.com
line qr come ติดต่อโรงงานผลิตพลาสติก
LINE ID: @laplastic
Copyright © 2008 by "L.A PLASTIC"  •  All Rights reserved www.laplastic.biz Tel: 081-9034147