วิธีการปลูกพริกและดูแลรักษาพริกให้ได้ผลผลิตสูงคุณภาพดี

พริกเป็นพืชผักที่มีพื้นที่ปลูกมากที่สุดในประเทศไทย มากกว่า 400,000 ไร่ อาจกล่าวได้ว่าวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยรวมทั้งคนเอเซียทุกครัวเรือนขาดพริกไม่ได้. จะต้องมีพริกมาเกี่ยวข้องในมืออาหารที่บริโภคเป็นประจำทุกวัน (ซึ่งพริกเป็นพืชที่ใช้คู่อาหารไทยเกือบทุกมื้อจนบางครัวเรือนยังปลูกพริกไว้กินเองที่บ้านโดยปลูกลงกระถางต้นไม้) นอกจากใช้บริโภคผลสดแล้วผลผลิตยังถูกนำไปแปรรูปในโรงงานอุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์ต่างๆจากพริก เช่น ซอสพริก น้ำจิ้ม เครื่องแกงเผ็ด พริกแห้ง พริกป่น และยาบรรเทาอาการปวด แมลงกัดต่อย และพริกสดเป็นสินค้าที่ถูกส่งออกไปขายยังต่างประเทศทั่วโลกเป็นจำนวนมากด้วยการบรรจุพริกลงตะกร้าพริก หรือบรรจุกล่องและส่งออกทางท่าเรือหรือรถขนส่ง รวมทั้งผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ทำจากพริก ซึ่งพริกนับเป็นสินค้าเกษตรที่ขายดีของไทยที่ได้รับการตอบรับจากนานาประเทศทั่วโลก

คำแนะนำต่างๆในวิธีการปลูกพริกและการเพาะกล้าพริก เพื่อให้พริกโตไว และ พริกมีลูกดก สามารถดัดแปลงเทคนิคการปลูกพริกปรับเปลี่่ยนแนวทางปฏิบัติตามสภาพพื้นที่ ประเภทดิน พันธุ์พริกและฤดูการปลูกแตกต่างกันไปแต่ละสถานที่ปลูก
วิธีปลูกพริกให้ได้ผลผลิตและคุณภาพ

1. พันธุ์พริก

พริกที่ปลูกในประเทศไทย จำแนกได้เป็น 2 กลุ่มตามนาดผล

1.1 กลุ่มพริกผลใหญ่

พริกชี้ฟ้า พริกมัน พริกหมุ่ม และพริกเหลือง
ผลยาว 5-20 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางผล 1-3 เซนติเมตร รูปร่างผลมีหลายแบบ ส่วนมากผลเรียวยาว ปลายผลแหลม สีผลอ่อนมีทั้งสีเขียวเข้ม ผลสุกแก่สีเหลือง ส้ม หรือแดง ขึ้นอยู่กับพันธุ์ ผิวผลมัน ผิวอาจเรียบหรือย่น รสชาร์ตค่อนข้างเผ็ด พริกชี้ฟ้า และ พริกมันใช้ผลสดทั้งเขียวและแดงประกอบอาหาร เช่น ผัด แกง และนำไปทำซอสพริก น้ำจิ้มต่างๆ ผลแดงเมื่อตากแห้งให้สีแดงสวย นำไปทำเครื่องแกงเผ็ด และ พริกป่น สำหรับพริกเหลืองใช้เป็นเครื่องปรุงในแกงเผ็ด ผัดหรือดองน้ำส้ม ส่วนพริกหนุ่มใช้ทำน้ำพริกหนุ่ม ซอสพริก แต่ไม่นิยมนำไปทำพริกแห้งและพริกป่นเพราะสีไม่สวย เมล็ดพันธุ์ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ผสมจากบริษัทผลิตเมล็ดพันธุ์ต่างๆ มีพันธุ์ผสมปล่อยอยู่ในแหล่งที่เกษตรกรเก็บเมล็ดพันธุ์ปลูกต่อเนื่องกันมา เช่น พริกมันดำบางช้าง มันดำบางซอ
ลักษณะพันธุ์พริกขี้ฟ้า
พริกชี้ฟ้า
ลักษณะพันธุ์พริกมัดดำ
พริกมันดำ
ลักษณะพันธุ์พริกมันบางช้าง 365
พริกมันบางช้าง 365
ลักษณะพันธุ์พริกหนุ่มเขียว
พริกหนุ่มเขียว
ลักษณะพันธุ์พริกหนุ่มขาว
พริกหนุ่มขาว
ลักษณะพันธุ์พริกเหลือง
พริกเหลือง
พริกหยวก
พริกหยวกผลยาว 4-20 เซ็นติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางผล 1-4 เซ็นติเมตร ผลยาวรูปทรงกรวย ปลายผลแหลมตรง ผิวมันและเรียบ เนื้อหนา ผลอ่อนมีตั้งแต่สีเหลือง และสีเขียวอ่อน ผลสุกแก่จะมีสีแดง รสชาติพริกหยวกจะเผ็ดน้อย ใช้ประกอบอาหาร เช่น หลน ผัด ย่าง พริกหยวกยัดไส้
ลักษณะพันธุ์พริกหยวก CA651
พริกหยวก CA651
ลักษณะพันธุ์พริกหยวก CA942
พริกหยวก CA942
ลักษณะพันธุ์พริกหยวกลูกผสมบางเลน
พริกหยวกลูกผสมบางเลน

1.2 กลุ่มพริกผลเล็ก

พริกขี้หมูผลใหญ่
พริกขี้หนูผลใหญ่ความยาวผลตั้งแต่ 3-12 เซ็นติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางผล 0.3-1.0 เซ็นติเมตร ผลเรียวปลายแหลมผลอ่อนมีสีเขียวอ่อนจนถึงเขียวเข้ม ผลสุกแก่สีแดงสด รสชาติเผ็ด พริกขี้หนูผลใหญ่ใช้เป็นเครื่องปรุงอาหารประเภทน้ำพริก ส้มตำ เครื่องแกง น้ำจิ้ม หรือ รับประทานสด ผลแดงทำพริกแห้ง และพริกป่น พันธุ์ปลูกส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ที่เกษตรกรเก็บพันธุ์เองเช่น พันธุ์ยอดสน หัวเรือ จินดา ห้วยสีทน แต่พันธุ์ลูกผสมจากบริษัทต่างๆ ได้รับความนิยมมากขึ้นเนื่องจากผลผลิตสูง สีผลมีสีเขียวเข้มกว่าพันธุ์พื้นบ้าน ก้านผลใหญ่ เช่นพันธุ์ซุปเปอร์ฮอท
ลักษณะพันธุ์พริกขี้หนูลูกผสม เทวี60
พริกขี้หนูลูกผสม เทวี60
ลักษณะพันธุ์พริกขี้หนู TVRC 758
พริกขี้หนู TVRC 758
ลักษณะพันธุ์พริกขี้หนูหัวเรืออุบล
พริกขี้หนูหัวเรืออุบล
ลักษณะพันธุ์พริกขี้หนู CA156
พริกขี้หนู CA156
พริกขี้หนูผลเล็ก
พริกขี้หนูผลเล็กความยาวผลน้อยกว่า 3 เซ็นติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อนจนถึงเขียวเข้ม ผลสุกแก่สีแดง รสชาติเผ็ดจัด มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ใช้เป็นเครื่องปรุงอาหาร ประเภทน้ำพริก ต้มยำ ส้มตำ ยำ เครื่องแกง น้ำจิ้ม และรับประทานสด พบเห็นทั่วไปคือ พริกขี้หนูสวน พริกกระเหรี่ยง
ลักษณะพันธุ์พริกขี้หนูหอม
พริกขี้หนูหอม
ลักษณะพันธุ์พริกขี้นก
พริกขี้นก
ลักษณะพันธุ์พริกขี้หนู CA358
พริกขี้หนู CA358

2. สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกพริก

พริกเจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศร้อน ชื้น แสงแดดไม่จัดจนเกินไป จึงมักพบเห็นพริกเติบโตใต้ต้นไม้ใหญ่ได้ดี อุณหภูมิเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพริกอยู่ในช่วง 20-30 องศาเซลเซียส (ยกเว้นพริกหวาน ต้องการอุณหภูมิต่ำกว่าประมาณ 18-27 องศาเซลเซียส) อุณหภูมิที่สูงกว่า 33 องศาเซลเซียส ทำให้ดอกร่วง และถ้าอุณหภูมิมีการปรับเปลี่ยนอย่างรวมเร็ว สูงกว่า 35 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูร้อน อาจทำให้ผลอ่อนร่วงด้วย นอกจากนี้ การขาดน้ำก็มีผลให้ดอกร่วงเช่นกัน พริกชอบดินร่วนโปร่ง ไม่มีน้ำขังแฉะ ความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของดินที่เหมาะสม ประมาณ 6.0-6.5 การปลูกพริกในฤดูฝนจำเป็นต้องเลือกปลูกบนที่ดอนหรือดินร่วนทรายหรือยกแปลงปลูกให้สูงเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้การระบายน้ำออกจากแปลงปลูกทำได้อย่างรวดเร็วในช่วงที่ฝนตกติดต่อกัน และดินควรได้รับปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกหมัก อย่างน้อย 800-1,000 กิโลกรัมต่อการปลูกพริก 1ไร่ เพื่อให้ดินอุดมสมบูรณ์ และเป็นอาหารสำหรับจุลินทรีย์ในดิน ช่วยให้ต้นพริกแข็งแรง ทนทานต่อโรคได้ดี

3. การเจริญเติบโตของพริก

พริกเจริญเติบโตเป็นลำต้นเดี่ยวตั้งตรง เมื่อเติบโตจนถึงข้อที่ 9-15 จะแตกออกเป็น 2 กิ่ง หรือ เรียกว่าง่ามแรก และที่ง่ามแรกจะมีตาดอกเดี่ยว 1 ดอก หรือในพริกขี้หนูสวนอาจมีดอก 1-2 ดอก การเจริญเติบโตต่อไปจะแตกยอด จาก 2 กิ่ง 4 กิ่ง 8 กิ่ง ไปเรื่อยๆ พริกออกดอกที่ข้อเกือบทุกข้อ ที่โคนลำต้นหลักใต้ง่ามแรกจะมีแขนย่อยแตกตามข้อ 3-5 แขนง แขนงย่อยอาจมีขนาดใหญ่สมบูรณ์สามารถให้ดอก ติดผลได้ถ้าใช้ระยะปลูกห่าง แต่ถ้าระยะปลูกแคบ แขนงมักไม่สมบูรณ์ ติดผลขนาดเล็กดังนั้นการปลูกพริกใหญ่จึงมักเด็ดกิ่งแขนงที่เกิดใต้ง่ามแรกออกทั้งหมด เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งแย่งอาหารจากลำต้นหลัก สำหรับพริกขี้หนูซึ่งปลูกโดยใช้ระยะปลูกห่างกว่าพริกผลใหญ่ อาจไม่เด็ดกิ่งแขนงที่เกิดใต้ง่ามแรกออกทั้งหมดก็ได้ เลือกกิ่งแขนงที่มีขนาดใหญ่ 1-2 แขนงเก็บไว้ จะได้ผลผลิตจากกิ่งแขนงด้วย เพราะพริกขี้หนูมีผลขนาดเล็ก ขนาดผลอาจเล็กลงบ้าง แต่ไม่แตกต่างจากผลพริกปรกติมากนัก
ลักษณะการเจริญเติบโตของพริก
ตารางการเจริญเติบโตของพริก
อายุ
(วันหลังหยอดเมล็ด)
การเจริญเติบโต
0
หยอดเมล็ด
3-6
เมล็ดเริ่มงอก
25
มีใบจริง 4-5 ใบ
50-60
พริกใหญ่เริ่มออกดอก
70-80
พริกเร็กเริ่มออกดอก
90-140
พริกใหญ่เริ่มมีผลสุกและเก็บเกี่ยว
110-180
พริกเล็กเริ่มมีผลสุกและเก็บเกียว

4. เมล็ดพันธุ์พริกและการเก็บรักษาพริก

เมล็ดพันธุ์พริกที่ใช้ปลูกมี 2 ประเภท

1. เมล็ดพันลุกผสม มีจำหน่ายตามร้านขายวัสดุเกษตรทั่วไป เมื่อปลูกแล้วไม่ควรเก็บพันธุ์ปลูกต่อไปอีก เพราะรูปร่างผลจะเปลี่ยนแปลงไป มีหลายขนาด หลายลักษณะแตกต่างจากรุ่นแรกที่ซื้อเมล็ดมาทำให้ตลาดไม่รับซื้อผลผลิต
2. เมล็ดพันธุ์ผสมปล่อย ส่วนใหญ่เป็นเมล็ดพันธุ์ที่ได้จากท้องถิ่นที่เก็บพันธุ์ปลูกต่อๆ กันมานาน มีความแปรปรวนของทรงต้นและลักษณะผลบ้าง ผลผลิตมักจะต่ำกว่าพันธุ์ลูกผสม แต่มีลักษณะตัวดีเด่นในแต่ละพันธุ์ เช่น พริกพันธุ์ยอดสน เมื่อตากแห้งแล้วก้านมีสีทองสวย

การเก็บเมล็ดพันธุ์และการคัดเลือกพันธุ์ สามารถทำได้ในพันธุ์พริกทั้งสองประเภท แต่การคัดพันธุ์จากเมล็ดพันธุ์ลูกผสมจะใช้เวลานานไม่น้อยกว่า 6-7 ชั่ว จึงจะได้สายพันธุ์ที่นิ่งคือ มีลักษณะสม่ำเสมอเหมือนกันในทุกชั่วที่เก็บเมล็ดปลูกต่อๆกันไป ต้องใช้เทคนิคในการควบคุมการผสมเกสร และคัดเลือกลักษณะที่ตรงตามต้องการของตลาด ซึ่งผู้ทำการคัดเลือกต้องมีความรู้ในการคัดพันธุ์พริกพอสมควร ส่วนพันธุ์ผสมปล่อยที่มีลักษณะต่างๆ แปรปรวนอยู่บ้าง วิธีการคดพันธุ์พริก คือ เลือกต้นที่มีลักษณะดี เช่น ผลดก ผลตรง ผลใหญ่ ต้นตั้งตรงแข็งแรง แล้วเก็บเมล็ดพันธุ์จากต้นที่ดี อาจมีต้นที่มีลักษณะดีหลายต้น เก็บเมล็ดแยกต้นกัน นำไปปลูกต่อ จากนั้นคัดเลือกต้นที่ดีโดยยึดลักษณะเช่นที่เคยคัดเลือกมาซ้ำ 2-4 ชั่ว ก็จะได้พันธุ์ปลูกที่ดี มีลักษณะตามที่เราคัดเลือก และถ้าให้ได้พันธุ์ที่มีลักษณะสม่ำเสมอเร็วขึ้น จะต้องควบคุมการผสมเกสรเพื่อให้ต้นพริกที่เราคัดเลือกไว้ติดผลจากเกสรในดอกเดียวกันหรือของต้นเดียวกัน โดยใช้สำลีหุ้มดอกที่ยังตูมอยู่ ไม่ให้แมลงมาผสมเกสรในดอกนั้น ดอกที่เราคลุมด้วยสำลีจะได้ละอองเกสรตัวผู้จากดอกเดียวกัน ติดเป็นผล และผลนี้จะได้เมล็ดพริกเรียกว่า เป็นการผสมตัวเอง ถ้าทำอย่างนี้ไปหลายๆครั้งที่นำเมล็ดไปปลูก ก็จะได้พันธุ์แท้ที่มีลักษณะสม่ำเสมอ เป็นพันธุ์ของเราเอง และเมื่อลักษณะต่างๆ สม่ำเสมอกันทุกต้นแล้วก็ไม่ต้องทำการผสมตัวเองอีก เก็บเมล็ดจากทุกต้นรวมกันเป็นพันธุ์พริกปลูกได้

เมล็ดพันธุ์พริกที่เก็บเมล็ดพันธุ์เอง ควรแกะเมล็ดออกจากผลที่สุกแดงแล้วโดยเร็ว จะแกะเมล็ดขณะผลสด หรือเมื่อผลแห้งก็ได้ แต่ไม่ควรปล่อยให้ผลที่แห้งแล้วทิ้งไว้นานเกิน 30 วัน เพราะเมล็ดที่อยู่ในผลจะเสื่อมความงอกไปเรื่อยๆ หลังจากเกะเมล็ดออกแล้วควรผึ่งในที่ร่ม หรือ ตากแดดเฉพาะตอนเช้าประมาณ 3-4 วัน เมื่อเมล็ดแห้งดีแล้วเก็บใส่ภาชนะที่มีฝาปิดแน่นสนิท หรือถุงพลาสติกหนาปิดถุงให้สนิทนำไปเก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา จะเก็บเมล็ดพันธุ์พริกไว้ปลูกได้นานกว่า 1 ปี

5. วิธีการปลูกปฏิบัติดูแลรักษาพริก

5.1 การเตรียมแปลงเพาะกล้าพริกหรือวัสดุเพาะกล้าพริก

เลือกพื้นที่ทำแปลงเพาะกล้าที่มีแสงแดดส่องถึงตลอดทั้งวัน ไม่เป็นที่ลุ่มน้ำขัง ขุดดินยกแปลงกว้าง 1 เมตร ปรับสภาพดินให้ร่วนโปร่งโดยเติมปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอกหมัก หรือถ่านแกลบ หรือแกลบอัตรา 2 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ปรับผิวหน้าดินให้เรียบ ใช้ไม้ขีดบนผิวหน้าแปลงเพาะกล้าเป็นรอยตื้นๆ ประมาณ 0.5-10 เซนติเมตร แต่ละรอยห่างกัน 10 เซ็นติเมตร วางเมล็ดพริกลงในรอยห่างกัน 2.3 เซ็นติเมตร ใช้ถ่านแกลบผสมปุ๋ยหมัก กลบเมล็ดบางๆ นำไม้ไผ่มาโค้งเป็นโครงคลุมด้วยตาข่ายพลาสติกไนล่อนป้องกันฝนและแสงแดดจัดเกินไปในระยะต้นกล้าพริกยังอ่อน

สำหรับวิธีการเพาะกล้าพริกในถาดเพาะกล้า อาจใช้ดินร่วนตามโคนไม้หรือกอไผ่ที่ใบร่วงทับถมและย่อยสลายดีแล้ว ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกหมัก หรือวัสดุต่างๆ ที่ร่วนโปร่ง อุ้มน้ำได้ดี น้ำหนักเบา หาได้ในถ้องถิ่นมาผสมกันเป็นวัสดุเพาะเช่น
1. ดินร่วน : ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกหมัก อัตรา 1 : 1 โดยปริมาตร
2. ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกหมัก : ถ่านแกลบ : ขุยมะพร้าว อัตรา 1 : 1 : 1 โดยปริมาตร

ขนะที่ผสมคลุกเคล้าส่วนผสมต่างๆ เข้าด้วยกันควรรดน้ำเล็กน้อย เพื่อให้วัสดุมีความชื้นพอสมควรซึ่งจะช่วยให้น้ำซึมลงในวัสดุได้อย่างทั่วถึงเมื่อรดน้ำภายหลังหยอดเมล็ดเรียบร้อยแล้ว

5.2 วิธีการเพาะกล้าเมล็ดพริก

การป้องกันเชื้อโรคติดมากับเมล็ดพริก ทำโดยนำเมล็ดแช่น้ำอุ่นที่มีอุณหภูมิประมาณ 50 องศาเซลเซียส (ทำโดยใช้น้ำต้มจนเดือด 1 กระป๋องนมขนาดเล็กผสมกับน้ำเย็น 1 กระป๋องนมขนาดใหญ่ ควรเตรียมน้ำอุ่นปริมาณมากๆ เพื่อให้อุณหภูมิคงที่ได้นาน หรือแช่ในกระติกน้ำก็ได้) ประมาณ 30 นาที จากนั้นผึ่งเมล็ดบางๆ รดน้ำแล้วรดด้วยไตรโคเดอร์มาอัตรา 100 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อป้องกันเชื้อราจากวัสดุปลูกเข้าทำลายเมล็ด
ปรกติเมล็ดพันธุ์กล้าพริกลูกผสมจะมีความสมบูรณ์ดีกว่าเมล็ดพันธุ์ผสมปล่อย สามารถงอกได้ 99-100 % ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องหยอดเมล็ดในถาดเพาะกล้าเกินกว่าหลุมละ 1 เมล็ด ช่วงที่สำคัญที่สุดในการเพาะกล้าอยู่ในช่วง 7 วันหลังจากหยอดเมล็ดในถาดเพาะ ขบวนการงอกเริ่มต้นด้วยเมล็ดดูดน้ำเข้าไป ขบวนการหายใจเริ่มทำงาน สร้างน้ำย่อยในเมล็ดเพื่อเปลี่ยนอาหารที่สะสมไว้เป็นพลังงานในการงอก ระยะนี้ต้องการความชื้นและออกซิเจนจากอากาศ ดังนั้นหลังจากแช่เมล็ดให้ดูดน้ำ 6-12 ชั่วโมงแล้วจึงนำเมล็ดมาห่อด้วยผ้าชื้นเรียกว่าการบ่มเมล็ด ถ้าหยอดเมล็ดลงถาดเพาะกล้า โดยไม่มีการบ่มเมล็ดจะต้องรดน้ำรักษาความชื้นในถาดเพาะให้สม่ำเสมอต่อเนื่อง 3-5 วัน หรือใช้พลาสติกคลุมถาดเพาะเมล็ดเอาไว้ ถ้าวัสดุปลูกแห้งเกินไปเมล็ดที่เริ่มงอกจะชะงักการเติบโตในมุมกลับถ้าแช่เมล็ดในน้ำนานเกินไปหรืออยู่ในวัสดุปลูกที่แฉะเกินไป ก็จะทำให้เมล็ดขาดอากาศตายได้เช่นกัน การปฏิบัติที่จำเป็นคือ เตรียมวัสดุเพาะอย่างประณีต คลุกเคล้าส่วนผสมต่างๆหลายๆครั้งให้เข้ากันดี บรรจุในถาดเพาะให้เต็มหลุมพอดีทุกหลุม หยอดเมล็ดด้วยความระมัดระวัง ไม่ทำให้รากที่เพิ่งปริหักออกทำหลุมหยอดเมล็ดให้ลึกสม่ำเสมอกัน และกลบเมล็ดด้วยวัสดุปลูกบางๆ ไม่หนาเกินกว่า 1 เซนติเมตร ดูแลความชื้นในถาดเพาะให้ชื้นพอดีอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง 3-5 วัน การควบคุมความชื้นในถาดเพาะให้สม่ำเสมอโดยรดน้ำน้อยๆ บ่อยๆ หรือใช้พลาสติกคลุมถาดเพาะ ซึ่งเป็นการ "บ่มถาดเพาะ" เมื่อเมล็ดงอกโผล่พ้นดินจึงเปิดผ้าพลาสติกออก การใช้พลาสติกคลุมถาดเพาะเป็นวิธีรักษาความชื้นของดินในถาดเพาะได้ดี สามารถหยอดเมล็ดลงในถาดเพาะได้ทันทีโดยไม่ต้องนำเมล็ดแช่น้ำและบ่มเมล็ดให้มีรากปริออกก่อน ช่วยให้การหยอดเมล็ดทำได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น (การบ่มเมล็ดด้วยการนำเมล็ดแช่น้ำ 6-12 ชั่วโมงในข้างต้น เป็นการช่วยให้เมล็ดพริกงอก แต่หลังจากหยอดเมล็ดแล้วหากแปลงปลูกหรือถาดเพาะมีความชื้นไม่สม่ำเสมอ รากที่ปริออกอาจแห้งตายได้ และการหยอดเมล็ดที่เริ่มปริทำได้ช้าและยากกว่าการหยอดด้วยเมล็ดแห้ง)

หลังจากต้นกล้าพริกงอกแล้ว ดูแลต้นกล้ามในถาดเพาะต่อไปอีก 30 วัน โดยในช่วง 15 และ 20 วัน หลังหยอดเมล็ด รดปุ๋ยเคมีสูตร 15 : 15 :15 ละลายน้ำอัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หลังจากรดปุ๋ยแล้วรดน้ำตามเบาๆ เพื่อล้างปู่ยออกจากใบ และก่อนย้ายปลูกประมาณ 1 สัปดาห์ควรทำให้ต้นกล้าพริกแข็งแรงทนทานโดยเปิดตาข่ายที่คลุมต้นกล้าออก ให้ต้นกล้าได้รับแสงแดดมากขึ้นหรือลดปริมาณน้ำที่ให้ลงอาจงดน้ำนานขึ้นจนต้นกล้าเริ่มเหี่ยวแล้วให้น้ำใหม่ ทำเช่นนี้ 2 ครั้งเป็นการกระตุ้นให้ต้นกล้าสะสมอาหารไว้ในต้นมากขึ้นกว่าปรกติ เพื่อใช้ในการงอกรากใหม่ ต้นกล้าพริกที่ดีควรมีลำต้นแข็ง ไม่อวบฉ่ำน้ำ การทำให้ต้นกล้าพริกแข็งแรงก่อนย้ายปลูกเป็นการเตรียมความพร้อมต้นกล้าที่จะออกไปสู่แปลงปลูกที่สภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปอย่างกะทันหัน ต้นกล้าจะรอดตายมากขึ้น กรณีที่ไม่สามารถย้ายปลูกได้ตามกำหนด ต้นกล้าอยู่ในถาดเป็นเวลานาน 50-60 วัน ทำให้รากขดเป็นวง ก่อนนำไปย้ายปลูกควรกรีดด้วยมีดหรือใช้กรรไกรตัดรากตามแนวเดียวกับลำต้น 1-2 รอย เป็นวิธีการเพื่อให้รากใหม่เกิดขึ้นง่าย
หยอดเมล็ดพริกในถาดหลุมละ 1 เมล็ด
หยอดเมล็ดพริกลงในถาดหลุม หลุมระ 1เมล็ด
ต้นกล้าพริกอายุ 10 วันหลังหยอดเมล็ด
ต้นกล้าพริกอายุ 10 วันหลังหยอดเมล็ด
ดูแลต้นกล้าพริกประมาณ 30วัน จึงย้ายปลูกลงแปลง
ดูแลต้นกล้าพริกประมาณ 30 วัน จึงนำไปย้ายปลูกลงแปลง
ใช้ตาข่ายไนล่อนคลุมถาดเพาะกล้าพริกในการดูแลแปลงพริก
ป้องกันโรคใบหงิกจากเชื้อไวรัสตั้งแต่ระยะต้นกล้า วิธีโดยใช้ตาข่ายไนล่อนสีขาวขนาด 32 ตาต่อนิ้ว คลุมถาดเพาะกล้าจะช่วยป้องกันแมลงปากดูดที่จะแพร่เชื้อไวรัสมาสู่ต้นกล้าตั้งแต่เล็กๆได้

5.3 วิธีการเตรียมแปลงปลูกพริกและระยะปลูกพริก

วิธีปลูกพริกในแปลง แปลงปลูกควรได้รับการไถพรวนให้ดินร่วนโปร่งและตากแดดไว้อย่างน้อย 7-14 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรคทางดิน เติมปุ๋ยคอกหมักหรือปุ๋ยหมักอย่างน้อย 800-1,000 กิโลกรัมต่อไร่ และถ้าดินในแปลงปลูกมี pH ต่ำก่อนไถพรวนทุกครั้งที่ปลูกพริก ควรหว่านปูนโดโลไมท์ประมาณ 100-200 กิโลกรัมต่อไร่ ยกแปลงปลูกสูง 25-30 เซนติเมตร หน้าแปลงปลูกกว้าง 100-120 ซม. แล้วแต่ขนาดพลาสติกคลุมแปลงที่ใช้ เว้นช่องเดินระหว่างแปลงประมาณ 50-80 เซนติเมตร โดยทั่วไปจำนวนต้นพริกที่เหมาะสมสำหรับพริกผลใหญ่ประมาณ 5,000-6000 ต้นต่อไร่ พริกผลเล็กประมาณ 4,000 ต้นต้อไร่ อย่างไรก็ดีระยะปลูกผันแปรตามพันธุ์และฤดูปลูกพริก ถ้าเตรียมแปลงปลูกกว้าง 120 เซ็นติเมตร (ใช้พลาสติกหน้ากว้าง 120 เซนติเมตร) ปลูก 3 แถวบนแปลง ระยะระหว่างต้น 40 ซม. มีช่องทางเดินระหว่างแปลง 80 ซม. จะปลูกได้ 6,000 ต้นต่อไร่ หรือถ้าเตรียมแปลงกว้าง 1เมตร คลุมแปลงด้วยพลาสติกหน้ากว้าง 1 เมตร ปลูก 2แถว ใช้ระยะระหว่างต้น 40 เซนติเมตร เว้นทางเดินระหว่างแปลง 50 เซนติเมตร จะปลูกได้ 5,340 ต้นต่อไร่ ซึ่งการปลูกพริกที่ใช้จำนวนต้นมากถึง 8,000-10,000 ต้นต่อไร่ (ปลูก 4 แถวและใช้ระยะระหว่างต้น 35-40 เซนติเมตร เว้นทางเดินระหว่างแปลง 50-60 เซ็นติเมตร) มักพบว่าต้นพริกที่อยู่กลางแปลง ให้ผลพริกขนาดเล็กและผลผลิตไม่มาก อีกทั้งเมื่อเกิดโรคในแปลงจะทำให้การระบาดของโรคเร็วและรุนแรงมากกว่าเนื่องจากต้นพริกเบียดกันแน่นอากาศในแปลงพริกถ่ายเทไม่สะดวก ต้นที่อยู่กลางแปลงมักอ่อนแอเพราะได้รับน้ำและแสงแดดไม่เพียงพอ
การเตรียมแปลงปลูกพริกที่เหมาะสมเจริญเติบโตได้ดี

5.4 วิธีการคลุมแปลงปลูกพริก

วัตถุประสงค์ของการคลุมแปลงปลูก คือ ป้องกันหน้าดินไม่ให้แน่นหลังจากฝนตก รักษาความชื้นในดิน ป้องกันหน้าดินไม่ให้กระทบแสงแดดโดยตรง อุณหภูมิดินจึงไม่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วจนกระทบกับการเจริญเติบโตของรากพริก และช่วยป้องกันวัชพืชด้วย วัสดุที่ใช้คลุมแปลงเช่น ฟางข้าว เปลือกฝักข้าวโพด ใบหญ้าคาหรือพลาสติก ในฤดูร้อนข้อดีของการใช้ฟางข้าวหรือเศษพืชคลุมแปลงปลูกคือ จะช่วยให้แปลงปลูกมีอุณหภูมิต่ำเหมาะสมกับพืชกว่าการใช้พลาสติกคลุมแปลงพริก
การใช้พลาสติกคลุมแปลงพริก ข้อดีง่ายสะดวก
การคลุมแปลงปลูกพริกด้วยพลาสติก
ข้อดีของการใช้ฟางข้าวคลุมแปลงจะทำให้อุณหภูมิเหมาะสม
การคลุมแปลงปลูกพริกด้วยพลาสติกฟางข้าว

5.5 วิธีการตัดกิ่งแขนงพริก

พริกผลใหญ่ควรปลิดแขนงที่เกิดใต้ง่ามแรกออกทั้งหมด วิธีทำโดยใช้มือปลิดขณะที่แขนงยังมีขนาดเล็กยาวไม่เกิน 10-15 เซ็นติเมตร (อายุประมาณดอกแรกบาน) ถ้าเด็ดช้าแขนงจะมีขนาดใหญ่ปลิดออกยากและเป็นแผลใหญ่ อาจต้องใช้กรรไกรตัด ซึ่งจะเสียเวลาและอาจทำให้โรคแพร่จากต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่งจากกรรไกรที่ปนเปื้อนเชื้อโรค การเด็ดแขนงใต้ง่ามแรกออก จะช่วยให้ต้นพริกไม่เสียอาหารที่สร้างได้ไปเลี้ยงกิ่งที่อยู่ใต้ทรงพุ่ม และทำให้ทรงพุ่มโปร่ง อากาศถ่ายเท เป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค อีกทั้งการพ่นยากำจัดศตรูพืชทำได้ทั่วถึง ไม่เป็นที่หลบซ่อนของแมลง และยังช่วยให้การเก็บเกี่ยวผลพริกทำได้สะดวก ผู้ปลูกพริกมักไม่อย่าเด็ดแขนงด้านล่างออกเพราะบางแขนงสามารถติดผลได้บ้าง แต่ถ้าสังเกตดูจะพบว่าแขนงที่เกิดใต้ง่ามแรกมักจะติดผลน้อย ส่วนใหญ่ไม่ติดผลหรือติดผลขนาดเล็ก โดยเฉพาะถ้าเป็นแขนงขนาดเล็ก นอกจากนี้ถ้าย้ายปลูกต้นกล้าพริกอายุมากเกิน 40 วัน ควรเด็ดดอกแรกทิ้งด้วย เพราะดอกแรกเกิดที่ง่ามแรกจะติดเป็นผลที่ห้อยลงติดกับดินหรือพลาสติกคลุมแปลงทำให้ปลายผลงอ หรือผลอาจเน่าเสียและการเด็ดผลแรกออกยังช่วยให้ต้นพริกเติบโตได้ดีกว่าปล่อยให้ติดผลตั้งแต่ต้นเล็กๆ โดยเฉพาะในภาวะที่สภาพแวดล้อมไม่เหมาะต่อการเติบโตของพริกเช่น ฝนตกหนักติดต่อกัน ไม่ค่อยมีแสงแดด เป็นต้น
กล้าแผ่นที่มีคุณภาพเมื่อนำออกจากถาดเพาะกล้าสู่การปักดำก็จะได้ผลิตมากขึ้น
พริกผลใหญ่เด็ดแขนงใต้ง่ามแรกออกทั้งหมด
พริกผลใหญ่เด็ดแขนงใต้ง่ามแรกออกทั้งหมด
พริกผลเล็กควรเลือกไว้แขนงที่มีขนาดใหญ่ 1-2 แขนง ส่วนแขนงเล็กปลิดออก
พริกผลเล็กควรเลือกไว้แขนงที่มีขนาดใหญ่ 1-2 แขนง ส่วนแขนงเล็กปลิดออก

5.6 วิธการใส่ปุ๋ยให้พริกมีหลัการดังนี้

1. ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี
2. ใส่ปุ๋ยที่มีสัดส่วนธาตุอาหารตามสัดส่วนที่พืชใช้ ส่วนใหญ่พืชที่มีผลมักต้องการ N:P:K ประมาณ 3:1:4 คือต้องการ K และ N มาก P ใช้น้อย
3.อัตราปุ๋ยที่ใส่ขึ้นกับผลผลิตคือ ถ้าพืชให้ผลผลิตมากก็ต้องเพิ่มปริมาณปุ๋ยที่ให้มากขึ้นด้วย โดยทั่วไปปริมาณปุ๋ยทั้งหมดที่ให้ตลอดฤดูจะตกประมาณ 100-150 กิโลกรัมต่อไร่ (โดยแบ่งใส่ 3-4 ครั้ง)
4. เวลาที่ใส่ปุ๋ยตรงกับช่วงการเจริญเติมโตอย่างรวดเร็วมักจะเป็นช่วงอายุ 25-60 วันหลังย้ายปลูก จึงต้องใส่ปุ๋ยค่อนข้างมากในช่วงนี้

ดังนั้นการใส่ปุ๋ยในการปลูกพริก อาจปฎิบัติดังนี้
- ปุ๋ยรองพื้น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก 800-1,000 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่แบบหว่านลงแปลงพริกก่อนเตรียมแปลงหรือใส่รองก้นหลุม ร่วมกับปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ และต้องคลุกเคล้าปุ๋ยกับดินให้ดีก่อนย้ายปลูก เพื่อไม่ให้รากต้นพริกกระทบกับปุ๋ยเคมีโดยตรง
- ครั้งที่ 1 อายุพริก 15 วันหลังย้ายปลูก ใส่ปุ๋ยโรยข้างต้นด้วย 21-0-0 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่
- ครั้งที่ 2 อายุพริก 25 วันหลังย้ายปลูก ใส่ปุ๋ยโรยข้าง 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่
- ครั้งที่ 3 อายุพริก 40 วันหลังย้ายปลูก ใส่ปุ๋ยโรยข้าง 13-13-21 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่
- ครั้งที่ 4 อายุพริก 55 วันหลังย้ายปลูก ใส่ปุ๋ยโรยข้าง 13-13-15 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่

การใส่ปุ๋ยโดยใช้ปุุ๋ยเคมีละลายน้ำรดให้พริก เป็นวิธีปฏิบัติที่ใช้แรงงานและเวลามากกว่าการหว่านหรือโรยด้วยปุ๋ยเม็ด แต่ให้ผลดีเพราะปุ๋ยกระจายทั่วถึง ไม่เข้มข้นเป็นจุดๆ อัตราที่ใช้คือ ปุ๋ย 5-10 กิโลกรัมต่อน้ำ 200 ลิตร หรือ 2.5 ถึง 5% ตามขนาดต้นพริก ปริมาณน้ำที่ใช้ต่อไร่ 1200 ลิตร

(ถ้าสามารถหาปุ๋ยเคมีที่มีสูตร N และ K สูง ส่วน P ต่ำได้ในท้องตลาด เช่น 15-5-18 ก็ควรใช้่แทนปุ๋ยที่แนะนำเพราะปุ๋ยที่มี P ต่ำจะราคาถูกดว่าปุ๋ยที่มี P สูง หรือผสมปุ๋ยใช้เอง

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรงงานพลาสติก L.A PLastic
129/20 หมู่4 ซ.เพชรเกษม99 แยก 5
ต.อ้อมน้อย อ. กระทุ่มแบน
จ.สมุทรสาคร 74130 ประเทศไทย

TEL: 081-903-4147

Email: la2plastic@gmail.com
line qr come ติดต่อโรงงานผลิตพลาสติก
LINE ID: @laplastic
Copyright © 2008 by "L.A PLASTIC"  •  All Rights reserved www.laplastic.biz Tel: 081-9034147