อิทธิพลต่างๆ ที่มีผลต่อคุณสมบัติของชิ้นงานฉีดพลาสติก ตอนที่ 1

ตอน  1  2  3
5.1 บทนำ
ในงานฉีดพลาสติก แฟกเตอร์ที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อคุณสมบัติของชิ้นงานพลาสติกนั้นมีด้วยกัน 3ส่วนใหญ่ๆ คือ ตัววัสดุพลาสติก ลักษณะของระบบทางน้ำพลาสติก และพารามิเตอร์ที่ใช้ในการฉีด ซึ่งโรงงานพลาสติกสามารถปรับได้โดยตรงกับตัวเครื่องฉีดพลาสติกและมีบทบาทมากต่อการทำงานฉีดพลาสติก อิทธิพลที่เกิดขึ้นนั้นก็จะแตกต่างกันออกไป โดยอาจเกิดผลกระทบโดยตรงกับคุณภาพของชิ้นงานฉีดก็ได้ หรืออาจเกิดผลกระทบทางอ้อมที่ทำให้ได้อัตราการผลิตลดลงหรือเพิ่มขึ้น ค่าพารามิเตอร์เหล่นั้นได้แก่ ความเร็วในการฉีด ความดันย้ำ อุณหภูมิของพลาสติกเหลว อุณหภูมิของแม่พิมพ์พลาสติก ฯลฯ ซึ่งได้กล่าวไปแล้วใน บทที่4 ส่วนเหตุผลที่โรงงานพลาสติกเราต้องมาศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับอิทธิพลต่างๆ ที่มีต่อคุณภาพของชิ้นงานในงานฉีดพลาสติกก็เพื่อที่จะได้สามารถวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ตลอดจนสามารถแก้ไขปัญหานั้นๆได้อย่างรวดเร็วไม่ผิดพลาด ทำให้เกิดการสูญเสียต่างๆ เช่น ตัวเนื้อพลาสติกก็ดี เวลาในการทำงานฉีดก็ดีหรือค่าแรงงานของพนักงานลดน้อยลงไป นั่นก็คือทางโรงงานพลาสติกเรามีกำไรมากขึ้น แต่การศึกษาและเรียนรู้ถึงอิทธิพลต่างๆ ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ค่อนข้างยุ่งยากสักหน่อย จึงต้องอาศัยเวลาพอสมควรและถ้านำไปลองปฏิบัติดูด้วยก็จะได้ผลเร็วขึ้น

5.2 อิทธิพลของตัววัสดุพลาสติก

เนื่องจากพลาสติกส่วนใหญ่ที่ใช้ทำการฉีดจะเป็นกลุ่มของเทอร์โมพลาสติก ดังนั้นจึงขอยกตัวอย่างเปรียบเทียบเฉพาะคุณสมบัติของอะมอร์พัสและพาร์เชียลคริสตัลไลน์เทอร์โมพลาสติกเท่านั้น คุณสมบัติที่จะกล่าวถึงคือคุณสมบัติบางประการที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากความร้อนดังรูปที่ 5.1 จะเห็นว่าปริมาตรจำเพาะพลังงานจำเพาะที่ใช้ของวัสดุพลาสติกประเภทพาร์เชียลคริสตัลไลน์เทอร์โมพลาสติกจะมีค่ามากกว่าอะมอร์พัสเทอร์โมพลาสติก โดยที่จุด Tm ซึ่งเป็นจุดที่ส่วนที่เป็นผลึกเริ่มหลอมเหลวละลายออกค่าปริมาตรจำเพาะและพลังงานที่ใช้จำเพาะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วนคุณสมบัติในการคำนวนความร้อนและความจุความร้อนจำเพาะของพาร์เชียลคริสตัลเทอร์โมพลาสติกก็ยังคงมีบทบาทเช่นเคย คือความสามารถในการนำความร้อนจะค่อยๆ ลดลงเมื่อเข้าใกล้จุด Tm และจะเพิ่มขึ้นทันทีทันใดที่จุดนี้ ส่วนความจุความร้อนจำเพาะจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นเมื่อเข้าจุด Tm และจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วด้วย หลังจากสิ้นสุดช่วง Tm ค่านี้ก็จะลดลงอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน จะเห็นได้ว่าที่จุด Tm นี้ พลาสติกต้องการพลังงานความร้อนเพื่อช่วยในการหลอมละลายของผนึก ทำให้ความสามารถในการนำความร้อนลดลง
ตัวอย่างคุณสมบัติของอะมอร์พัสเทอร์โมพลาสติกและพาร์เชียลคริสตัลไลน์เทอร์โมพลาสติก
รูปที่ 5.1 ตัวอย่างคุณสมบัติของอะมอร์พัสเทอร์โมพลาสติกและพาร์เชียลคริสตัลไลน์เทอร์โมพลาสติก
คุณสมบัติบางอย่างของเทอร์โมพลาสติกทั้งสองประเภทจะไม่เด่นชัดในช่วงจังหวะฉีด เพราะต้องใช้เวลาในการให้ความดัน เช่น ความสามารถในการอัดตัวและความดันในแม่พิมพ์พลาสติกที่เกิดขึ้นดังในรูปที่ 5.2 และรูปที่ 5.3 ความสามารถในการอัดตัวของพาร์เชียลคริสตัวไลน์เทอร์โมพลาสติกจะมีน้อยกว่าอะมอร์พัสเทอร์โมพลาสติก เพราะว่าปริมาตรจำเพาะที่เกิดขึ้นเนื่องจากความร้อนมีค่ามากกว่านั่นเองแต่ความดันในแม่พิมพ์พลาสติกที่เกิดขึ้นจะอยู่นานกว่า
ความสามารถในการอัดตัวของพลาสติกเนื่องจากอุณหภูมิและความร้อน
รูปที่ 5.2 ความสามารถในการอัดตัวของพลาสติกเนื่องจากอุณหภูมิและความร้อน
เส้นโค้งแสดงอุณหภูมิของพลาสติกเหลวและความดันในแม่พิมพ์สำหรับอะมอร์พัส (พลาสติกPS) และพาร์เชียลคริสตัลไลน์ (พลาสติกPE)
รูปที่ 5.3 เส้นโค้งแสดงอุณหภูมิของพลาสติกเหลวและความดันในแม่พิมพ์สำหรับอะมอร์พัส (พลาสติกPS) และพาร์เชียลคริสตัลไลน์ (พลาสติกPE)

5.3 อิทธิพลของระบบทางน้ำพลาสติก

ลักษณะและรูปร่างของทางน้ำพลาสติกเข้า (gate) ตลอดจนระยะทางของทางน้ำพลาสติกวิ่ง (runner) นั้นก็มีผลกระทบต่อคุณภาพของชิ้นงานฉีดเช่นกัน ซึ่งโรงงานฉีดพลาสติกเราสามารถดูได้จากค่าความดันในแม่พิมพ์พลาสติกที่เกิดขึ้น เนื่องมาจากความต้านทานการไหลของพลาสติกในระบบแตกต่างกันดังรูปที่ 5.4 จะเห็นได้ว่าลักษณะของทางน้ำพลาสติกเข้าแบบเป็นจุด (point gate) จะเกิดความดันของระบบไฮดรอลิกสูงกว่าแบบฟิล์ม (film gate) และแบบแท่ง (pin gate) ซึ่งใช้ความดันและความเร็วในการฉีดคงที่ส่วนระบบทางน้ำพลาสติกวิ่งที่ใกล้กับตัวชิ้นงานจะให้ความดันในแม่พิมพ์พลาสติกสูงกว่าด้วย เนื่องจากการต้านทานการไหลของพลาสติกมีน้อยกว่านั่นเอง แต่การแก้ไขการไหลตัวไม่ดีของพลาสติก โรงงานพลาสติกเราสารารถเพิ่มความดันและเวลาในการฉีดให้สูงขึ้นได้
อิทธิพลของระบบทางน้ำพลาสติกที่มีต่อความดันในแม่พิมพ์
รูปที่ 5.4 อิทธิพลของระบบทางน้ำพลาสติกที่มีต่อความดันในแม่พิมพ์
นอกจากลักษณะของทางน้ำพลาสติกเข้า และระยะทางของทางน้ำพลาสติกวิ่งจะมีอิทธิพลต่อความดันที่เกิดขึ้นแล้ว ขนาดของทางเข้าและทางวิ่งของน้ำพลาสติกก็มีอิทธิพลเช่นเดียวกันดังรูปที่ 5.5
ความดันในแม่พิมพ์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากขนาดของทางน้ำพลาสติกเข้า (พลาสติก POM)
รูปที่ 5.5 ความดันในแม่พิมพ์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากขนาดของทางน้ำพลาสติกเข้า (พลาสติก POM)

5.4 อิทธิพลของพารามิเตอร์ที่ปรับตั้งในการฉีดพลาสติก

ดังที่กล่าวมาพารามิเตอร์ที่ปรับตั้งในการฉีดพลาสติกนั้นมีบทบาทมากต่อคุณภาพของชิ้นงานพลาสติก และสามารถกระทำได้โดยตรงที่ตัวเครื่องฉีดพลาสติก ซึ่งให้ความสะดวกและรวดเร็วในการแก้ปัญหาแทนที่จะทำการแก้ไขที่ตัววัสดุพลาสติกหรือแม่พิมพ์พลาสติก เนื่องจากพารามิเตอร์ที่ใช้มีอยู่หลายตัวด้วยกัน ดังนั้นอิทธิพลที่เกิดขึ้นกับชิ้นงานพลาสติกอาจจะมาจากพารามิเตอร์ตัวเดียวหรือหลายตัวก็ได้ ดังต่อไปนี้

5.4.1 อิทธิพลของความเร็วในการฉีดพลาสติก

ความเร็วในการฉีดพลาสติกจะมีอิทธิพลมากต่อความดันในแม่พิมพ์พลาสติกที่เกิดขึ้น โดยดูได้จากรูปที่ 5.6 ถ้าความเร็วในการฉีดสูงขึ้น ความดันของน้ำมันไฮดรอลิกที่เกิดขึ้นและความดันในแม่พิมพ์ก็จะสูงขึ้นตาม และใช้เวลาในการสร้างความดันเร็วกว่าด้วย เนื่องมาจากพลาสติกเหลวถูกเติมในแม่พิมพ์ในระยะเวลาที่สั้นกว่า
นอกจากนี้ความเร็วในการฉีดยังมีผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพชิ้นงานที่ฉีดได้ด้วย ดังแสดงในตารางที่ 5.1
อิทธิพลของความเร็วฉีดพลาสติก (Vs)
รูปที่ 5.6 อิทธิพลของความเร็วฉีดพลาสติก (Vs)
ความเร็วที่มีผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพของชิ้นงานฉีดพลาสติก
ตารางที่ 5.1 ความเร็วที่มีผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพของชิ้นงานฉีดพลาสติก
ตอน  1  2  3
โรงงานพลาสติก L.A PLastic
129/20 หมู่4 ซ.เพชรเกษม99 แยก 5
ต.อ้อมน้อย อ. กระทุ่มแบน
จ.สมุทรสาคร 74130 ประเทศไทย

TEL: 081-903-4147

Email: la2plastic@gmail.com
line qr come ติดต่อโรงงานผลิตพลาสติก
LINE ID: @laplastic
Copyright © 2008 by "L.A PLASTIC"  •  All Rights reserved www.laplastic.biz Tel: 081-9034147