พันธุ์ลำไยที่นิยมปลูกในประเทศไทยมีอะไรบ้าง

พันธุ์ลำไยที่นิยมปลูกในประเทศไทยมีอะไรบ้าง
ลำไย ชื่อสามัญ Longan (ลองแกน) (มักเขียนผิดเป็น "ลำใย")
ลำไย ชื่อทางวิทยาศาสร์ Dimocarpus longan Lour. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Euphoria longan (Lour.) Steud.) จัดอยู่ในวงศ์เงาะ (SAPINDACEAE)

"ลำไย" เป็นผลไม้เพื่อสุขภาพชนิดหนึ่งที่นิยมรับประทานอย่างมากในบ้านเรา โดยจังหวัดที่ปลูกลำไยมากที่สุดคือจังหวัดลำพูน สำหรับประเทศที่ปลูกมากที่สุดเห็นจะเป็นประเทศจีนที่มีการปลูกลำไยมากถึง 26 สายพันธุ์แต่ก็มีการนำเข้าลำไยจากประเทศไทยอีกเป็นจำนวนมากโดยบรรจุลง ตะกร้าลำไย หรือ กล่อง ส่งทางรถและท่าเรือ ส่วนลำไยที่นิยมปลูกในบ้านเราจะแบ่งออกเป็น 5 พวก ชนิดแรกคือ ลำไยกะโหลก ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีผลใหญ่ เนื้อหวานอร่อยซึ่งก็จะแบ่งแยกไปอีกหลายสายพันธุ์ เช่น สีชมพู อีดอ อีแดง อีดำ เป็นต้น ส่วนจำพวกที่ 2-5 ก็คือ ลำไยกระดูก ลำไยสายน้ำผึ้ง ลำไยเถา ลำไยขาว และลำไยธรรมดา ลำไยประกอบด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุโซเดียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุทองแดง ธาตุเหล็ก วิตามินซี วิตามินบี12 เป็นต้น ส่วนในด้านสรรพคุณ ลำไยใช้เป็นยารักษาโรคได้แก่ เป็นยาแก้ท้องร่วง รักษาโรคมาลาเรีย บรรเทาอาการริดสีดวงทวาร เป็นต้น

พันธุ์ลำไย

จังหวัดลำพูนและเชียงใหม่ เป็นแหล่งปลูกลำไยพันธุ์ดีมากที่สุดในประเทศไทย กำเนิดลำไยพันธุ์ดีหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "ลำไยพันธุ์กะโหลก" ลำไยเท่าที่พบในประเทศไทยแบ่ง 4กลุ่ม คือ ลำไยป่า ลำไยพื้นเมือง (ลำไยกระดูก) ลำไยพันธุ์ดี (ลำไยกะโหลก) และลำไยเครือ (ลำไยชลบุรี)

ลำไยพันธุ์พื้นเมืองเป็นลำไยที่มีผลเล็ก ออกผลดกเป็นพวงมีหลากหลายชนิดแต่เรียกรวมๆกันว่าลำไยเมือง (ลำไยพันธุ์พื้นเมือง, ลำไยกระดูก) พบเห็นอยู่ทั่วไปในภาคเหนือและเหลือน้อยเต็ม่ทีเพราะไม่นิยมปลูกและไม่มีราคา ลำไยที่นิยมปลูกมากที่สุดในขณะนี้คือ ลำไยพันธุ์กะโหลก กลุ่มลำไยอีดอ หรือถ้าเรียกแบบเมืองเหนือก็ต้องเรียกว่า พันธุ์อีดอ

พันธุ์ลำไยที่พบในปัจจุบันอาจแบ่งได้ 2 ชนิด ตามลักษณะการเจริญเติบโต ลักษณะผล เนื้อ เมล็ด และรสชาติ คือ
1. ลำไยเครือหรือลำไยเถา มีลำต้นเลื้อยคล้ายเถาวัลย์ มีผลเล็ก เมล็ดโต เนื้อผลมีกลิ่นคล้ายกำมะถัน ปลูกไว้เป็นไม้ประดับมากกว่ารับประทาน
2. ลำไยต้น แบ่งออกเป็น 2ชนิด คือ 1) ลำไยพันพื้นเมือง 2) ลำไยกะโหลก มีอยู่หลายพันธุ์ ดังนี้

1) ลำไยพันธุ์ดอ หรือ อีดอ

ลำไยพันธุ์ดอ หรือ อีดอ เป็นลำไยพันธุ์เบา คือออกดอกและเก็บผลก่อนพันธุ์อื่น ชาวสวนนิยมปลูกมากที่สุด ราคาดี เป็นพันธุ์ที่เจริญเติบโตดี โดยเฉพาะในดินอุดมสมบูรณ์ และมีน้ำพอเพียง ทนแล้งและทนน้ำได้ดีปานกลาง พันธุ์ดอแบ่งตามสีของยอดอ่อนได้ 2ชนิด คือ
• ลำไยพันธุ์อีดอยอดแดง เจริญเติบโตเร็วมากเมื่อเปรียบเทียบกับอีดอยอดเขียว ลำต้นแข็งแรงไม่ฉีดหักได้ง่ายเปลือกลำต้นสีน้ำตาลปนแดง ในแบนสีแดงปัจจุบันดอยอดแกงไม่ค่อยนิยมปลูก เนื่องจากออกดอกติดผลไม่ดี และเมื่อผลเริ่มสุกถ้าเก็บไม่ทันผลจะร่วงเสียหายมาก
• ลำไยพันธุ์อีดอยอดเขียว มีลักษณะต้นคล้ายอีดอยอดแดง แต่ใบอ่อนเป็นสีเขียว ออกดอกติดผลง่าย แต่อาจไม่สม่ำเสมอ นอกจากนี้ลำไยพันธุ์อีดอยังแบ่งตามลักษณะของก้านช่อผลได้อีก 2 ชนิด คือ อีดอก้านอ่อน เปลือกของผลจะบาง และอีดอก้านแข็ง เปลือกของผลขนาดค่อนข้างใหญ่ ทรงผลกลมแป้นเบี้ยวยกบ่าข้างเดียว ผิวสีน้ำตาล มีกระหรือตาห่าง สีน้ำตาลเข้ม เนื้อค่อนข้างเหนียว สีขาวขุ่น เมล็ดขนาดใหญ่ปานกลาง รูปร่างแบนเล็กน้อย
ลักษณะลำไยพันธุ์อีดอ
ลำไยพันธุ์อีดอ หรือ ลำไยพันธุ์อีดอ

2) ลำไยพันธุ์ชมพูหรือสีชมพู

ลำไยพันธุ์ชมพูหรือสีชมพู เป็นลำไยพันธุ์กลางมีรสชาติดี นอยมรับประทาน ทรงพุ่มต้นสูงโปร่ง กิ่งเปราะหักง่าย การเจริญเติบโตดี ไม่ทนแล้ง เกิดดอกติดผลง่ายปานกลาง การติดผลไม่สม่ำเสมอ ช่อผลยาว ผลขนาดใหญ่ปานกลาง ทรงผลค่อนข้างกลม เบี้ยวเล็กน้อย ผิวสีน้ำตาลอมแกง ผิวเรียบ มีกระสีคล้ำตลอดผล เปลือกหนา แข็งและเปราะ เนื้อหนาปานกลาง นิ่มและกรอบ สีชมพูเรื่อๆ ยิ่งผลแก่จัดสีของเนื้อลำไยยิ่งเข้ม เนื้อล่อน รสหวาน กลิ่นหอม เมล็ดค่อนข้างเล็ก
ลักษณะลำไยพันธุ์สีชมพู
ลำไยพันธุ์สีชมพู

3) ลำไยพันธุ์แห้ว หรือ อีแห้ว

ลำไยพันธุ์แห้ว หรือ อีแห้ว เป็นลำไยพันธุ์หนัก ลำต้นไม่ค่อยแข็งแรง เปลือกลำต้นสีน้ำตาลปนแดงเขียวเป็นพันธุ์ที่เจริญเติบโตดีมาก ทนแล้งได้ดี พันธุ์แห้วแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือแห้วยอดแดง และ แห้วยอดเขียว ลักษณะต่างกันที่สีของใบอ่อนหรือยอด แห้วยอดแดงมีใบอ่อนเป็นสีแดง แห้วยอดเขียวมีอ่อนหรือยอดเป็นสีเขียว เกิดดอกและติดผลค่อนข้างยากอาจให้ผลเว้นปี ช่อดอกสั้น ขนาดผลในช่อมักไม่สม่ำเสมอกัน ผลขนาดใหญ่หรือปานกลาง ทรงผลกลมและเบี้ยว ฐานผลบุ๋ม ผิวสีน้ำตาล มีกระสีคล้ำตลอดผล เปลือกหนา เนื้อหนาแน่น แห้งและกรอบ สีขาวขุ่น รสหวานแหลม กลิ่นหอม มีน้ำปานกลาง เมล็ดค่อนข้างเล็ก แห้วยอดแดงจะออกดอกง่ายกว่าแห้วยอดเขียว และมีเนื้อสีค่อนข้างขุ่นน้อยกว่า และมีปริมาณน้ำมากกว่าแห้วยอดเขียว
ลักษณะลำไยพันธุ์แห้ว หรือ ลำไยพันอีแห้ว
ลำไยพันธุ์แห้ว หรือ ลำไยพันธุ์อีแห้ว

4) ลำไยพันธุ์เบี้ยวเขียวหรืออีเบี้ยวเขียว

ลำไยพันธุ์เบี้ยวเขียวหรืออีเบี้ยวเขียว เป็นลำไยพันธุ์หนักเจริญเติบโตดี ทนแล้งได้ดีแต่มักอ่อนแอต่อโรคพุ่มไม้กวาด เกิดดอกยาก มักเว้นปี ช่อผลหลวม สีของผลเมื่อมีขนาดเล็กสีเขียวพันธุ์เบี้ยวเขียวแบ่งได้เป็น 2 ชนิด เบี้ยวเขียวก้านแข็ง (เบี้ยวเขียวป่าเส้า) และเบี้ยวเขียวก้านอ่อน (เบี้ยวเขียวป่าแดด) เบี้ยวเขียวก้านแข็งให้ผลไม่ดกแต่ขนาดผลใหญ่มาก แต่ติดผลน้อยไม่ค่อยนิยมปลูก ส่วนเบี้ยวเขียวก้านอ่อนให้ผลดกเป็นพวงใหญ่ ผลมีขนาดใหญ่ ทรงผลกลมแบนและเบี้ยวมากเห็นได้ชัด ผิวสีเขียวอมน้ำตาล ผิวเรียบ เปลือกหนาและเหนียว เนื้อหนาแห้งกรอบล่อนง่าย สีขาว มีน้ำน้อย รสหวานแหลม กลิ่นหอม เมล็ดค่อนข้างเล็ก
ลักษณะลำไยพันธุ์แห้ว หรือ ลำไยพันอีแห้ว
ลำไยพันธุ์เบี้ยวเขียว หรือ ลำไยพันธุ์อีเบี้ยวเขียว

5) ลำไยพันธุ์ใบดำหรืออีดำหรือกะโหลกใบดำ

ลำพันธุ์ใบดำหรืออีดำหรือกะโหลกใบดำ เป็นลำไยพันธุ์กลาง ออกดอกติดผลสม่ำเสมอเจริญเติบโตดีมาก ทนแล้งและน้ำได้ดี ข้อเสียคือ ผลโตเต็มที่จะเล็กกว่าพันธุ์อื่นๆ มีผลขนาดใหญ่ปานกลางค่องข้างกลม แบนและเบี้ยวเล็กน้อย ผิวสีน้ำตาล ผิวขรุขะ เปลือกหนาและเหนียว ทนทานต่อการขนส่ง เนื้อปานกลาง สีขาวครีม เมล็ดขนาดเล็ก รูปร่างค่อนข้างยาวและแบน

6) ลำไยพันธุ์แดงหรืออีแดง

ลำไยพันธุ์แดงหรืออีแดง เป็นลำไยพันธุ์กลาง ผลกลม เนื้อมีกลิ่นคาวคล้ายกำมะถัน ทำให้คุณภาพไม่ค่อยดี การเจริญเติบโตดีปานกลาง ไม่ทนแล้ง และไม่ทนมีน้ำขังจึงล้มตายง่าย มักยืนต้นตายเมื่อเกิดสภาพน้ำขัง หรือปีที่ติดผลดก พันธุ์แดงแบ่งได้เป็น 2ชนิด แดงเปลือกหนา และแดงเปลือกบาง พันธุ์แดงเหลือกบางเกิดดอกและติดผลง่าย ติดผลค่อนค้างคงที่ ผลขนาดใหญ่ปานกลาง ขนาดผลค่อนข้างสม่ำเสมอ ทรงผลกลม ผิวสีน้ำตาลอมแดง ผิวเรียบ เปลือกบาง เนื้อหนาปานกลาง สีขาวครีบเนื้อเหนียว มีน้ำมากจึงมักแฉะ เมล็ดรูปร่างป้อม จุกใหญ่มาก แดงเปลือกหนามีขนาดผลใหญ่กว่า เปลือกหนากว่า เนื้อหนากว่า ส่วนลักษณะอื่นๆ คล้ายคลึงกัน

7) ลำไยพันธุ์อีเหลืองหรือเหลือง

ลำไยพันธุ์อีเหลืองหรือเหลือง มีทรงพุ่มค่อนข้างกลม ออกผลดก กิ่งเปราะจึงหักง่ายเมื่อมีผลดกมาก ผลค่อนข้างกลม เนื้อสีขาวนวล เมล็ดกลม

8) ลำไยพันธุ์พวงทอง

ลำไยพันธุ์พวงทอง เป็นพันธุ์ที่ช่อดอกขนาดใหญ่กว้าง ผลทรงค่อนข้างกลมและเบี้ยวเล็กน้อย ผิวสีน้ำตาลมีกระสีน้ำตาล เนื้อหนา กรอบ สีขาวครีม รสหวาน เมล็ดขนาดปานกลางและแบน

9) ลำไยพันธุ์เพชรสาครทวาย

ลำไยพันธุ์เพชรสาครทวาย จัดว่าเป็นลำไยพันธุ์ทวาย คือ สามารถออกดอกมากกว่าหนึ่งครั้งต่อปี มีใบขนาดเล็ก เรียวแหลม ออกดอกและให้ผลผลิตปีละ 2 รุ่น คือ รุ่นแรกออกดอกราวเดือนธันวาคม-มกราคม และเก็บผลได้ประมาณเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน รุ่นที่สองออกดอกราวเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม เก็บเกี่ยวผลได้ในเดือนธันวาคม-มกราคม ผลกลม เปลือกบาง เนื้อมีสีขาวฉ่ำน้ำ

10) ลำไยพันธุ์ปู่มาตีนโค้ง

ลำไยพันธุ์ปู่มาตีนโค้ง มีผลสวยมาก ขนาดใหญ่ สีเขียวให้ผลดก แต่คุณภาพและรสชาติไม่ดี กลิ่นคาว ปัจจุบันพันธุ์นี้ลดลงเป็นอย่างมาก คงมีแต่สวนเก่า ซึ่งมีเพียงไม่กี่ต้นเท่านั้น

10) ลำไยพันธุ์ตลับนาค

ลำไยพันธุ์ตลับนาค ผลขนาดใหญ่ ค่อนข้างกลม ผิวเปลือกเรียบหนา สีขาวใส เมล็ดเล็ก รสไม่ค่อยหวานจัด

ประโยชน์สรรพคุณของลำไย

ลำไยอร่อยมีประโยชน์และสพรรพคุณต่อสุขภาพ
1. ลำไยใช้รับประทานสดเป็นผลไม้ในยามว่าง
2. น้ำลำไยช่วยเพิ่มความสดชื่นให้แก่ร่างกาย
3. ใช้ทำเป็นอาหารก็ได้ เช่น ข้าวเหนียวเปียกลำไย ลำไยลอกแก้ว วุ้นลำไย เป็นต้น
4. ลำไยเป็นผลไม้ที่ให้พลังงานสูงมาก เนื่องจากมีน้ำตาลหรือคาร์โบไฮเดรตในปริมาณมาก
5. ลำไยมีวิตามินซีที่มีส่วนช่วยการบำรุงผิวและเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
6. ลำไยมีวิตามินบี 12 ที่มีส่วนช่วยในการบำรุงประสาทและสมอง
7. ลำไยมีธาตุแคลเซียมสูง มีส่วนช่วยในเรื่องของทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง
8. ลำไยมีธาตุฟอสฟอรัสที่มีส่วนช่วยบรรเทาอาการปวดจากข้ออักเสบได้
9. ลำไยมีธาตุโซเดียม ช่วยให้เส้นประสาทและกล้ามเนื้อทำงานได้อย่างปกติ
10. ลำไยมีธาตุโพแทสเซียมที่ช่วยให้มีสติปัญญา จิตใจร่าเริงแจ่มใส โดยการส่งออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง
11. ลำไยมีธาตุเหล็กซึ่งช่วยป้องกันอาการอ่อนเพลียของร่างกาย
12. ลำไยมีแร่ธาตุทองแดงที่มีส่วนช่วยให้ร่างกายมีพลังงาน โดยการช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ
13. ลำไยช่วยให้หลับสบายและช่วยในการเจริญอาหาร
14. ลำไยช่วยรักษาอาการหวัด ด้วยการนำใบมาชงกับน้ำร้อนดื่ม
15. ลำไยช่วยรักษาโรคมาลาเรีย ด้วยนำใบสดประมาณ 20 กรัม น้ำ 2แก้ว ผสมเหล้าอีก 1แก้ว นำมาต้มรวมกันให้เดือดจนเหลือน้ำ 1 แก้วแล้วนำมารับประทาน
16. ลำไยช่วยรักษาแผลเน่าเปื่อย บรรเทาอาการคัน ด้วยนำเมล็ดไปเผาให้เป็นเถ้าแล้วนำมาถา
17. ลำไยช่วยรักษาอาการท้องร่วง ด้วยการนำเปลือกของต้นที่มีสีน้ำตาลใช้ต้มเป็นยา
18. ลำไยช่วยรักษาโรคลิดสีดวงทวาร ด้วยการนำใบลำไยมาชงกับน้ำร้อนดื่ม
19. ลำไยใช้เป็นยาแก้โรคต่างๆ ที่เกี่ยวกับหนอง ด้วยการน้ำใยสดประมาณ 20กรัม ไปต้มกับน้ำดื่ม
20. ลำไยแก้อาการตกขาว ด้วยการนำรากมาต้มน้ำหรือเคี้ยวให้ค้นผสมกิน
21. ลำไยช่วยขับพยาธิเส้นด้าย ด้วยการนำรากมาต้มน้ำหรือเคี้ยวให้ค้นผสมกิน
22. ลำไยช่วยรักษาปัสสาวะขัด ด้วยการนำเมล็ดมาทุบให้แตกแล้วต้มน้ำกิน
23. ดอกลำไยใช้เป็นยาขับปัสสาวะ สลายก้อนนิ่วในไตได้
24. ลำไยแก้อาการวิงเวียนศีรษะอ่อนเพลีย เพิ่มความสดชื่น ด้วยนำเปลือกผลที่แห้งแล้วมาต้มน้ำกิน
25. ลำไยช่วยรักษาแผลหกล้ม โดนมีนบาด ด้วยการใช้เมล็ดบดเป็นผงแล้วนำมาพอกห้ามเลือด จะช่วยแก้ปวดได้ด้วย แต่ต้องเอาเปลือกสีดำออกก่อน
26. ลำไยช่วยรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ด้วยการนำเปลือกผลที่แห้งแล้วมาเผาเป็นเถ้าหรือบดให้เป็นผงแล้วนำมาโรยที่บาดแผล
27. ลำไยช่วยรักษาแผลมีหนอง สมานแผล ห้ามเลือด แก้ปวด ด้วยการนำเมล็ดมาต้มหรือบดเป็นผงนำมารับประทาน
28. ลำไยรักษากลากเกลื้อน ด้วยการใช้เมล็ดชุบน้ำส้มสายชูที่หมักด้วยข้าวและนำมาถู แต่ทั้งนี้ต้องลอกเปลือกสีดำออกก่อน
29. ลำไยเป็นยาบำรุงม้าม เลือดลม หัวใจ บำรุงร่างกาย นอนอไม่หลับ อาการอ่อนเพลีย ด้วยนำเนื้อหุ้มเมล็ดมาต้นน้ำกินหรือนำมาแช่กับเหล้า
30. ลำไยอบแห้งมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยยับยั้งสารก่อมะเร็ง
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
โรงงานพลาสติก L.A PLastic
129/20 หมู่4 ซ.เพชรเกษม99 แยก 5
ต.อ้อมน้อย อ. กระทุ่มแบน
จ.สมุทรสาคร 74130 ประเทศไทย

TEL: 081-903-4147

Email: la2plastic@gmail.com
line qr come ติดต่อโรงงานผลิตพลาสติก
LINE ID: @laplastic
Copyright © 2008 by "L.A PLASTIC"  •  All Rights reserved www.laplastic.biz Tel: 081-9034147