วิธีการและขั้นตอนการปลูกมังคุด ตอนที่ 1

เทคนิคขั้นตอนและวิธีปลูกมังคุดให้ได้ผลผลิตดีคุณภาพสูง
ตอน  1  2 
มังคุดเป็นผลไม้ที่ตลาดมีความต้องการ ทั้งตลาดภายในประเทศ และตลาดต่างประเทศ ซึ่งมังคุดเป็นผลไม้ส่งออกโดยการบรรจุใส่ ตะกร้ามังคุด และกระจายไปในหลายประเทศโดยเฉพาะประเทศจีน มังคุดชอบอากาศร้อนชื้น ควรเลือกพื้นที่ปลูกที่มีน้ำเพียงพอตลอดช่วงฤดูแล้ง
ปลูกมังคุดและบรรจุลงตะกร้าจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ
ผลผลิตมังคุดบรรจุในตะกร้าเพื่อจำหน่ายและส่งออก

วิธีการเลือกพื้นที่ปลูกมังคุด

1. สภาพพื้นที่ปลูกมังคุด

พื้นที่ควรสูงจากระดับน้ำทะเล 0-650 เมตร ความลาดเอียง 1-3 เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่ควรเกิน 15 เปอร์เซ็นต์ ใกล้แหล่งน้ำพื้นที่ไม่มีน้ำท่วมขัง การคมนาคมสะดวก ขนส่งผลผลิตมังคุดได้สะดวกรวดเร็ว

2. ลักษณะดินปลูกมังคุด

ดินที่เหมาะกับการปลูกมังคุด ควรเป็นดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี หน้าดินลึกมากกว่า 50 เซ็นติเมตร ระดับน้ำใต้ดินลึกมากกว่า 1 เมตร ค่าความเป็นกรดด่างของดินอยู่ระหว่าง 5.5-6.5

3. สภาพภูมิอากาศในการปลูกมังคุด

มังคุดชอบอากาศร้อนชื้นที่อุณหภูมิประมาณ 25-35 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 2,000 มิลลิเมตรต่อปี การกระจายตัวของฝนดี มีช่วงแล้งต่อเนื่องน้อยกว่า 3 เดือนต่อปี และมีความชื้นสัมพัทธ์มากกว่า 70-80 เปอร์เซ็นต์

4. แหล่งน้ำ

มังคุดต้องการน้ำเพียงพอตลอดปี เป็นแหล่งน้ำสะอาด ค่าความเป็นกรดด่างของน้ำอยู่ระหว่าง 6.0-7.5

พันธุ์มังคุด

มังคุดที่ปลูกในประเทศไทยมีเพียงพันธุ์เดียว เนื่องจากเกสรตัวผู้ของมังคุดเป็นหมัน เมล็ดจะเจริญจากเนื้อเยื่อของต้นแม่ โดยไม่ได้รับการผสมเกสร การเลือกพันธุ์เลือกต้นพันธุ์ที่ได้จากการเพาะเมล็ด ในถาดเพาะกล้าและถุงดำ ที่มีความสมบูรณ์แข็งแรง อายุไม่น้อยกว่า 2ปี หรือมีความสูงมากกว่า 30 เซนติเมตร มีการเปลี่ยนถุงตามการเจริญเติบโต โดยสังเกตถุงเพาะยังใหม่

วิธีการปลูกมังคุด

1. การเตรียมพื้นที่ปลูกมังคุด

1.1 พื้นที่ดอน

ให้ไถพรวน ปรับพื้นที่ให้เรียบ และขุดร่องระบายน้ำหากมีปัญหาน้ำท่วมขัง ถ้าพื้นที่ดอนที่เคยปลูกไม้ยีนต้นมาก่อนไม่ต้องไถพรวน

1.2 พื้นที่ลุ่ม

- ถ้าเป็นพื้นที่มีน้ำท่วมขังไม่มากให้นำดินมาเทกองตามฝังปลูก สูงประมาณ 1.0-1.5 เมตร แล้วปลูกมังคุดบนสันกลางของกองดิน
- ถ้าเป็นพื้นที่มีน้ำท่วมขังมาก ให้ยกร่องสวนให้มีขนาดสันร่องกว้างไม่น้อยกว่า 6 เมตร ร่องน้ำกว้าง 1.5 เมตร ลึก 1เมตร มีระบบระบายน้ำเข้า-ออกเป็นอย่างดี
เตรียมพื้นที่ดอนการปลูกมังคุุด
พื้นที่ดอน
เตรียมพื้นที่ลุ่มการปลูกมังคุุด
พื้นที่ลุ่ม

2. วิธีการปลูกมังคุด

2.1 วิธีการเลือกต้นพันธุ์มังคุด

- เลือกต้นนพันธุ์มังคุดที่ได้จากการเพาะเมล็ด
- ต้นพันธุ์มังคุดมีความสมบูรณ์ แข็งแรง อายุไม้น้อยกว่า 2 ปี หรือมีความสูงมากกว่า 30 เซนติเมตร
- ต้นพันธุ์มังคุดมีระบบรากสมบูรณ์ ไม่ขด หรืองอ เลือกต้นพันธุ์ที่ดีต้นมังคุดก็จะเติบโตเร็วผลผลิตมีคุณภาพ
วิธีเลือกต้นพันธุ์มังคุด
วิธีเลือกต้นพันธุ์มังคุด

2.2 ระยะปลูกมังคุด

- ปลูกมังคุดระบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือสามเหลี่ยมด้านเท่าระยะปลูกมังคุดระหว่างแถว 8 x 8 เมตร 10 x 10 เมตร
- ปลูกมังคุดแบบแถวกว้างต้นชิด ระยะปลูกระหว่างแถวและต้น 8 x 3 เมตร หรือ 10 x 5 เมตร
ระยะปลูกที่เหมาะสมในการปลูกมังคุด
ระยะปลูกมังคุด

2.3 วิธีปลูกมังคุด

- แบบเตรียมหลุมปลูกมังคุด

- ขุดหลุม กว้าง ยาว ลึก ประมาณ 50 x 50 x 50 เซนติเมตร
- ผสมดินปลูกด้วยหญ้าแห้ง ปุ๋ยคอก และปุ๋ยเคมี
- ตากดินไว้ระยะหนึ่งจนดินยุบตัวคงที่ เติมดินผสมลงไปอีกจนเต็ม
- ย้ายต้นพันธุ์ที่อยู่ใน กระถางต้นไม้  เข่งพลาสติก หรือ ถุงดำ ลงปลูกในหลุม ให้รอยต่อระหว่างต้นพันธุ์และต้นตออยู่สูงกว่าระดับดิน กลบดินรอบต้นพันธุ์มังคุดให้แน่น
- ผูกยึดต้นกล้ามังคุดติดกับไม้หลัก เพื่อกันการโยกคลอนของต้น
ขุดหลุมปลูกมังคุด 50 x 50 x50 ซม.
แบบเตรียมหลุมปลูกมังคุด

- แบบนั่งแท่น หรือยกโคก

- ไม่ต้องขุดหลุมปลูก
- วางต้นพันธุ์ แล้วขุดดินมากลบจนอยู่ระดับเดียวกับผิวดินของต้นพันธุ์มังคุดในลักษณะลาดเอียงออกไป โดยรอบรัศมีประมาณ 1 เมตร กลบดินให้แน่น
- พรวนดิน และขุดดินเพื่อขยายโคน ปีละ 1 ครั้ง จนเริ่มให้ผลผลิตจึงหยุด
วางต้นพันธุ์มังคุดแล้วคุดดินมากลบ
แบบนั่งแท่น หรือยกโคก

3. การดูแลรักษามังคุด

3.1 การพรางแสงสำหรับมังคุดต้นเล็ก

- การดูแลมังคุดปลูกใหม่ควรใช้วัสดุธรรมชาติพรางแสง เช่นทางมะพร้าว ปักเป็นกระโจมคร่อมต้นมังคุด
- ใช้ตาข่ายพรางแสง
- ปลูกต้นไม้โตเร็วระหว่างแถวมังคุด ให้มีระยะห่างระหว่างต้นของไม้โตเร็วที่สามารถแผ่ทรงพุ่มพรางแสงให้ต้นมังคุดได้ประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์ เช่น กล้วย ทองหลาง เป็นต้น
ใช้วัสดุธรรมชาติพรางแสงต้นมังคุดโดยการปักเป็นกระโจม
ใช้วัสดุธรรมชาติพรางแสงต้นมังคุดโดยการปักเป็นกระโจม

3.2 การให้ปุ๋ย

- การให้ปุ๋ยคอกกับต้นมังคุดปลูกใหม่ อัตราเป็นบุ้งกี๋ต่อต้น (2.25 กิโลกรัม = 1บุ้งกี๋) คิดเป็น2 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม (เมตร) ต่อการใส่ 1 ปี แบ่งเป็น 2 ครั้ง
-ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ สูตร 16-16-16 อัตราเป็นกิโลกรัมต่อต้นต่อปี คิดเป็นเท่ากับเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม (เมตร) เช่น ต้นมังคุดมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร ใช้ปุ๋ย 1 กิโลกรัมแบ่งใส่ 2-4 ครั้ง
วิธีการใส่ปุ๋ยแบบเตรียมหลุมปลูกมังคุด
- ให้แบ่งปุ๋ยครั้งแรกรองก้นหลุมทั้งปุ๋ยคอก และ ปุ๋ยเคมี
- การใส่ปุ๋ยครั้งต่อไปปฏิบัติเช่นเดียวกันทั้งปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมี ใส่โดยการโรยรอบต้นให้ปุ๋ยห่างโคนต้นประมาณ 30 เซนติเมตร แล้วพรวนดินกลบปุ๋ย
- การใส่ครั้งต่อไปให้โรยปุ๋ยบริเวณรอบขอบของการพรวนดินกลบปุ๋ยครั้งแรก แล้วพรวนดินกลบปุ๋ยในลักษณะของการขยายวงรอบต้นมังคุดออกไปอีก
• วิธีการใส่ปุ๋ยแบบนั่งแท่นหรือยกโคนต้นมังคุด
- ให้ปุ๋ยครั้งแรกเมื่อต้นมังคุดแตกใบอ่อนครั้งแรกแล้ว การใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีปฏิบัติเช่นเดียวกันโดยวิธีการโรยรอบต้นห่างจาโคนต้นมังคุดประมาณ 30 เซนติเมตร แล้วพรวนดินกลบปุ๋ย
- การใส่ปุ๋ยครั้งต่อไปให้โรยปุ๋ยบริเวณรอยขอบของการพรวนดินกลบปุ๋ยครั้งแรก แล้วพรวนดินกลบปุ๋ยลักษณะของการขยายวงรอบต้นออกไป
- มังคุดต้นเล็กไม่จำเป็นต้องตัดแต่งกิ่ง นอกจากตัดกิ่งด้านล่างให้สูงจากพื้นดินประมาณ 50 เซนติเมตร และกิ่งที่ซ้อนทับกันจนแน่นทึบออก
วิธีการใส่ปุ๋ยให้ต้นมังคุดแบบเตรียมหลุมปลูกและแบบนั่งแท่น
วิธีใส่ป๋ยสำหรับต้นมังคุด

3.3 การให้น้ำต้นมังคุด

- ระบบการให้น้ำที่เหมาะสมกับมังคุดใช้ระบบการให้น้ำแบบหัวเหวี่ยงเล็ก
- ความต้องการน้ำของมังคุดต้นเล็กประมาณ 0.6 เท่าของค่าอัตราการระเหยน้ำ (มิลลิเมตรต่อวัน) คูณด้วยพื้นที่ใต้ทรงพุ่ม เช่น ในภาคตะวันออก เมื่ออัตราการระเหยน้ำวันละ 3.7-5.7 มิลลิเมตร มีพื้นที่ใต้ทรงพุ่ม 1 ตารางเมตรเท่ากับการให้น้ำ 2.3-3.4 ลิตร ต่อต้นต่อวัน
วิธีให้้น้ำและความต้องการน้ำของการปลูกมังคุด
วิธีให้น้ำสำหรับต้นมังคุด

3.4 การตัดแต่งและควบคุมทรงพุ่มของต้นมังคุด

- มังคุดต้นเล็กไม่จำเป็นต้องตัดแต่งกิ่ง นอกจากตัดกิ่งด้านล่างให้สูงจากพื้นดินประมาณ 50 เซนติเมตร และกิ่งที่ซ้อนทับกันจนแน่นทึบออก
มังคุดต้นเล็กไม่จำเป็นต้องตัดแต่งกิ่งจอกจากกิ่งด้านล่าง
วิธีการตัดแต่งและควบคุมทรงพุ่มของต้นมังคุด

แมลงและศตรูของมังคุด

1. โรคที่สำคัญของมังคุด

1.1 โรคใบจุด

สาเหตุลักษณะอาการของโรคใบจุดในมังคุด
• สาเหตุ เชื้อรา
• ลักษณะอาการ ใบอ่อนเป็นจุดแผลสีน้ำตาล รูปร่างไม่แน่นอน ต่อมาบริเวณกลางแผลมีสีเทา เมื่อแผลขยายใหญ่ขึ้นจะทำให้ใบแห้ง มีผลกระทบต่อการสังเคราะห์แสงของใบ ทำให้ความสมบูรณ์ต้นมังคุดลดลง
• ช่วงเวลาระบาด ในช่วงฝนตกชุก ระยะใบอ่อนถึงเพสลาด

1.2 โรคจุดสนิม

สาเหตุลักษณะอาการโรคจุดสนิมในมังคุด
• สาเหตุ สาหร่าย
• ลักษณะอาการ เป็นจุดนูนกลม ลักษณะคล้ายขนละเอียดบนใบ เริ่มแรกมีสีเชียว ต่อมาเป็นสีสนิม
• ช่วงเวลาระบาด เมื่อความชื้นในบรรยากาศสูง

2. แมลงและไรศตรูที่สำคัญของมังคุด

2.1 หนอนกินใบอ่อน

สาเหตุลักษณะอาการและการทำลายหนอนกินใบอ่อนมังคุด
• ลักษณะและการทำลาย ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาด 3.0-4.5 เซนติเมตร หนอนมีขนาดประมาณ 2.5-3.5 เซนติเมตร สีเขียวแกมเหลืองเหมือนกับสีของใบอ่อนต้นมังคุดกัดกินใบอ่อนในเวลากลางคืน ทำให้เสียพื้นที่ใบในการสังเคราะห์แสง มังคุดเจริญเติบโตช้า
• ช่วงเวลาระบาด ระยะแตกใบอ่อน

2.2 หนอนชอนใบ

สาเหตุลักษณะอาการและการทำลายหนอนชอนใบมังคุด
• ลักษณะและการทำลาย ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก 2.2-3.0 มิลลิเมตร หนอนมีขนาดประมาณ 3 มิลลิเมตร สีนวลปนแดง ทำลายเฉพาะใบอ่อนโดยหนอนชอนเข้าไปอยู่ระหว่างผิวใบ ทำทางเดินและอาศัยการเจริญเติบโตอยู่ภายในระหว่างผิวใบทั้ง 2 ด้าน ใบที่ถูกทำลายจะเห็นเป็นทางเดินของหนอนคดเคี้ยวไปมาใบหงิกงอ ไม่เจริญเติบโต
• ช่วยงเวลาระบาด ระยะแตกใบอ่อน

2.3 เพลี้ยไฟ

สาเหตุลักษณะอาการและการทำลายของเพลี้ยไฟในมังคุด
• ลักษณะและการทำลาย เป็นแมลงขนาดเล็ก 0.7-1.0 มิลลิเมตร สีเหลืองหรือน้ำตาลอ่อน เคลื่อนไหวรวดเร็ว ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อน ดอก และผล ทำให้ใบแคระแกร็น แห้ง และไหม้ ส่วนผลมังคุดเจริญเติบโตช้า ผิวผลมีรอยขรุขระเป็นขี้กลาก
• ช่วงเวลาระบาด ระยะแตกใบอ่อน ดอก และผลอ่อนในช่วงอากาศแห้งแล้ง

2.4 ไรแดง

สาเหตุลักษณะอาการและการทำลายไรแดงในมังคุด
• ลักษณะและการทำลาย มีขนาดเล็กมาก สีน้ำตาลแดงเคลื่อนไหวไปมา มักระบาดควบคู่กับเพลี้ยไฟ ไรแดงจะดูดกินน้ำเลี้ยงที่ยอด และผลอ่อน ทำให้ดอกและผลอ่อนมังคุดแห้ง ร่วง หรือ เจริญเติบโตช้า มีผิวกร้าน
• ช่วงเวลาระบาด ช่วงอากาศแห้งแร้ง

3. วัชพืช

3.1 วัชพืชฤดูเดียว

ลักษณะวัชพืชและชื่อวัชพืชเป็นวัชพืชที่ครบวงจรชีวิตภายในฤดูเดียว เข่น หญ้าตีนนก หญ้านกสีชมพู หญ้าตีนติด หญ้าขจรจบดอกเล็ก หญ้าขจรจบดอกใหญ่ หญ้าลูกเห็บ เทียนา ผักบุ้ง-ยาง สาบแร้งสาบกา กระดุมใบ ไมยราบหนาม เป็นต้น

3.2 วัชพืชข้ามปี

ลักษณะวัชพืชและชื่อวัชพืชเป็นวัชพืชที่สามารถขยายพันธุ์ด้วยต้น ราก เหง้า หัว และไหล เช่น หญ้าคา หญ้าชันกาด หญ้าแพรก แห้วหมู เถาตอเชือก ผักปราบ เป็นต้น

การใช้สารป้องกันกำจัดศตรูพืชมังคุดอย่างถูกต้องและเหมาะสม

การใส่สารป้องกันกำจัดศตรูพืชที่เหมาะสม เกษตรกรที่จะปลูกมังคุดควรรู้จักศัตรูพืช ชนิด และอัตราการใช้สารป้องกันกำจัดศตรูพืช การเลือกใช้เครื่องพ่นและหัวฉีด รวมทั้งการพ่นที่ถูกต้อง นอกจากนั้น การพ่นควรกระจายให้คลุมทั้งต้นมังคุด โดยเฉพาะบริเวณที่ศตรูพืชเข้าทำลายดังนี้

1. การใช้สารป้องกันกำจัดศตรูพืชมังคุด

1.1 ตรวจสอบซ่อมอุปกรณ์เครื่องพ่นอย่าให้มีรอยรั่ว เพื่อป้องกันสารพิษเปียกเปื้อนเสื้อผ้าและร่างกายของผู้พ่น
1.2 ต้องสวนเสี้อผ้าและอุปกรณ์ป้องกันสารพิษ ได้แก่ หน้ากากหรือผ้าปิดจมูก ถุงมือ หมวกงอบ และรองเท้า เพื่อป้องกันอันตรายจากสารพิษ
1.3 อ่านฉลากคำแนะนำ เพื่อทราบคุณสมบัติและวิธีการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชก่อนการปฏิบัติงานทุกครั้ง
1.4 ควรพ่นสารป้องกันกำจัดศตรูพืชในช่วงเช้า หรือเย็น ขณะลมสงบ หลีกเลี่ยงการพ่นในเวลาแดดจัดหรือลมแรง และขณะปฏิบัติงานผู้พ่นต้องอยู่เหนือลมตลอดเวลา
1.5 เตรียมสารป้องกันกำจัดศตรูพืชให้ใช้หมดในคราวเดียว ไม่ควรเหลือติดค้างในถังเคมีหรือถังพ่น
1.6 ปิดฝาภาชนะบรรจุสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชให้สนิทเมื่อเลิกใช้ เก็บไว้ที่มิดชิด ห่างจากสถานที่ปรุงอาหาร แหล่งน้ำและต้องใส่กุญแจโรงเก็บทุกครั้ง
1.7 ภายหลังการพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชทุกครั้ง ผู้พ่นต้องอาบน้ำ สระผม และเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที เสื้อผ้าที่ใส่ขณะพ่นสารต้องซักให้สะอาดทุดครั้ง
1.8 ไม่เก็บเกี่ยวผลผลิตก่อนสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่ใช้จะสลายตัวถึงระดับที่ปลอดภัย
1.9 เมื่อใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชหมดแล้ว ให้ล้างภาชนะบรรจุด้วยน้ำ 2-3 ครั้ง เทน้ำลงในถังเคมีหรือทังพ่น ปรับปริมาตรน้ำตามต้องการก่อนนำไปใช้พ่นป้องกันกำจัดศัตรูพืช สำหรับภาชนะบรรจุสารเคมีที่ล้างแล้วคือ ขวด กล่องการดาษ และถึงพลาสติก ให้ทำลายโดยการฝังดินห่างจากแหล่งน้ำ และให้มีความลึกมากพอที่สัตว์ไม่สามารถคุ้ยขึ้นมาได้ ห้ามเผา และห้ามนำมาใช้ใหม่

2. การพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช

วิธีการพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชต้นมังคุด

2.1 เครื่องพ่นสาร

เครื่องพ่นสารที่เกษตรกรนิยมใช้ ได้แก่เครื่องยนต์พ่นสารชนิดใช้แรงดันของเหลง

2.2 วิธีใช้

- ก่อนการพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช จะต้องตรวจสอบการรั่วตามข้อต่างๆ โดยเติมน้ำลงในถังพ่นสาร หากมีรอยรั่วควรทำการซ่อมแซมให้เรียบร้อย
- หัวฉีดที่ใช้ควรเป็นหัวฉีดแบบกรวยกลวงซึ่งให้ละอองเล็กละเอียด และใช้หัวฉีดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของรูพ่นประมาณ 1.0-1.2 มิลลิเมตร ปรับความดันในระบบการพ่นให้ได้อย่างน้อย 30 บาร์ เมื่อต้นมังคุดมีความสูง 4.0-5.0 เมตร ถ้าหากทรงพุ่มมีขนาดใหญ่ หรือสูงประมาณ 8.0-10.0 เมตร ควรใช้หัวฉีดที่มีขนาดรูพ่นโตขึ้น และเพิ่มความดันเป็น 40 บาร์
- สวมชุดป้องกันกำจัดศตรูพืชให้มิดชิด เนื่องจากการพ่นไม้ยืนต้น โอกาสละอองจะตกบนร่างกายมีได้ทุกขณะ
- สังเกตทิศทางลมก่อนการพ่นสาร ถ้าหากไม้ผลมีทรงพุ่มใหญ่และสูง ควรแบ่งการพ่นออกเป็น 4 ส่วน (ใต้ลมซ้าย ใต้ลมขวา เหนือลมซ้าย และเหนือลมขวา) โดยปรับหัวฉีดให้ได้ละอองขนาดเล็ก แล้วทำการพ่นจากส่วนยอดลงมายังส่วนล่างของต้น ส่ายหัวฉีดจากซ้ายไปขวา หรือขวามาซ้าย พ่นให้ละอองเกาะใบ หรือช่อดอก อย่างทั่วถึง แต่ไม่ควรพ่นซ้ำไปมาจนละอองรวมตัว ไหลลงดิน ในการพ่นผู้พ่นควรยืนห่างต้นพอสมควร ละอองจะแพร่กระจายได้ดี
- ในกรณีที่จำเป็นต้องต่อก้านพ่นด้วยไม้ไผ่ให้สูงขึ้นควรปรับหัวฉีดให้เป็นฝอยละเอียดก่อน ถ้าหากไม่ปรับหัวฉีด ผู้พ่นจะไม่สามารถปรับหัวฉีดได้เพราะที่ปรับอยู่ปลายไม้ส่วนบนสุด จะเกิดการสูญเสียโดยเปล่าประโยชน์
- อัตตาการพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชนั้น ขึ้นอยู่กับเครื่องพ่นและขนาดของทรงพุ่มต้นไม้ ตามคำแนะนำดังนี้
คำแนะนำการพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชในไม้ผลหรือต้นมังคุดด้วยเครื่องยนต์พ่นสารชนิดใช้แรงดันของเหลว
รายละเอียด
ความสูง (เมตร)
อัตราการพ่น (ลิตรต่อตัน)
4.0-5.0, 5.0-8.0
6.0-7.0, 10.0-12.0
8.0-10.0, 15.0-20.0
ขนาดรูพ่น(มม.)
1.2
1.6
>1.6
แรงดัน(บาร์)
30
35-40
40-45

สุขลักษณะและความสะอาดในการปลูกมังคุด

1. กิ่ง ใบ ที่ร่วงหล่น หรือที่ตัดแต่งและเศษวัชพืชสามารถนำไปย่อยหมักเป็นปุ๋ยได้ แต่กิ่งที่เป็นโรค ควรเผาทำลายนอกแปลงมังคุด
2. เครื่องมืออุปกรณ์ และเครื่องทุ่นแรงประเภทต่างๆ หลังการใช้ทำความสะอาด ดูแลและซ่อมบำรุงให้เรียบร้อยหากมีการชำรุดหรือเสียหาย จากนั้นจึงนำไปเก็บให้เป็นที่ ไม่ทิ้งเกะกะในสวนมังคุด
3. เก็บสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ยเคมีในที่ปลอดภัย และใส่กุญแจ

การบันทึกข้อมูลการปลูกมังคุด

1. บันทึกข้อมูลการปฏิบัติของขั้นตอนการผลิตมังคุดที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการตรวจสอบวิธีผลิต
2. ติดตามประวัติของผลผลิตมังคุดที่นำออกจำหน่ายได้เช่น เวลา/ขั้นตอนการพัฒนาการของพืช ตัวบ่งชี้ที่ได้จากการสำรวจ/ประเมินเพื่อช่วยในการตัดสินใจเลือกวิธีป้องกันและการแก้ปัญหา
3. บันทึกวัน เดือน ปี และวิธีปฏิบัติงานเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
ตอน  1  2 
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
โรงงานพลาสติก L.A PLastic
129/20 หมู่4 ซ.เพชรเกษม99 แยก 5
ต.อ้อมน้อย อ. กระทุ่มแบน
จ.สมุทรสาคร 74130 ประเทศไทย

TEL: 081-903-4147

Email: la2plastic@gmail.com
line qr come ติดต่อโรงงานผลิตพลาสติก
LINE ID: @laplastic
Copyright © 2008 by "L.A PLASTIC"  •  All Rights reserved www.laplastic.biz Tel: 081-9034147