อิทธิพลต่างๆ ที่มีผลต่อคุณสมบัติของชิ้นงานฉีดพลาสติก ตอนที่ 3

ตอน  1  2  3

5.4.7 อิทธิพลของอุณหภูมิแม่พิมพ์พลาสติก

การเปลี่ยนแปลงไปของอุณหภูมิแม่พิมพ์พลาสติกจะมีอิทธิพลต่อความดันในแม่พิมพ์พลาสติกคล้ายกับอิทธิพลของอุณหภูมิพลาสติกเหลว กล่าวคือในระหว่างจังหวะการฉีด ความหนืดของพลาสติกเหลวที่เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากอุณหภูมิของแม่พิมพ์พลาสติกจะไม่ค่อยมีผลกระทบกับชิ้นงานที่หนา (เช่น ถาดเพาะกล้า  ตะกร้าหูเหล็ก) แต่จะมีผลกระทบต่อชิ้นงานที่บาง (เช่น ตะกร้าลำไย  ตะกร้ามังคุด) และมีระยะทางในการไหลของพลาสติกเหลวที่ยาว และเมื่อใช้อุณหภูมิที่ต่ำ ความดันที่เกิดขึ้นในจังหวะฉีดเพื่อเติมพลาสติกเหลวจนเต็มในแม่พิมพ์พลาสติกก็จะสูงขึ้น ดังรูปที่ 5.14 และเส้นโค้งแสดงความดันในแม่พิมพ์พลาสติกก็จะเกิดขึ้นเป็นเวลาที่สั้นลง
การตั้งอุณหภูมิของกระบอกฉีดพลาสติกจากต่ำไปสูง
รูปที่ 5.14 อิทธิพลของอุณหภูมิแม่พิมพ์พลาสติกที่มีต่อความดัน
ส่วนรูปที่ 5.15 เป็นการทดลองหาความดันในแม่พิมพ์พลาสติกที่เกิดขึ้นสำหรับพลาสติกที่มีผลึกเมื่ออุณหภูมิของแม่พิมพ์พลาสติกเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งผลที่ได้คือ เมื่ออุณหภูมิแม่พิมพ์พลาสติกเพิ่มขึ้น ความดันในแม่พิมพ์พลาสติกที่เกิดขึ้นก็จะสูงตาม และยิ่งเห็นได้ชัดเจนขึ้นในช่วงจังหวะย้ำรักษาความดัน (holding) เพราะความดันที่เกิดขึ้นจะอยู่นานขึ้น
เมื่ออุณหภูมิของแม่พิมพ์พลาสติกเปลี่ยนแปลงไปก็จะทำให้คุณภาพของชิ้นงานฉีดที่ได้เปลี่ยนแปลงไปด้วยดังแสดงในตารางที่ 5.4
การตั้งอุณหภูมิของกระบอกฉีดพลาสติกจากต่ำไปสูง
รูปที่ 5.15 ความดันในแม่พิมพ์พลาสติกที่เกิดขึ้นเนื่องจากอิทธิพลของอุณหภูมิแม่พิมพ์พลาสติก (พลาสติก PE)
การตั้งอุณหภูมิของกระบอกฉีดพลาสติกจากต่ำไปสูง
ตารางที่ 5.4 อิทธิพลของอุณหภูมิของแม่พิมพ์พลาสติกเปลี่ยนแปลงไปก็จะทำให้คุณภาพของชิ้นงานเปลี่ยนแปลงไปด้วย

5.4.8 อิทธิพลของความดันไฮดรอลิกที่ปรับตั้ง

ความดันไฮดรอลิกที่โรงงานพลาสติกเราใช้ในการฉีดพลาสติก ซึ่งมีอิทธิพลต่อคุณภาพของชิ้นงานพลาสติกนั้นเราเอาไปใช้ในการฉีด (injection) เพื่อเติมพลาสติกเข้าในแม่พิมพ์พลาสติก และเอาไปใช้ในการย้ำเพื่อรักษาความดัน (holding) ให้กับพลาสติกเหลวที่อยู่ในแม่พิมพ์พลาสติก ฉะนั้นความเร็วและความดันในการฉีดเพื่อเติมพลาสติกเหลวเข้าในแม่พิมพ์พลาสติก โรงงานพลาสติกเราสามารถปรับตั้งได้โดยตรงกับอัตราการไหลและความดันของไฮดรอลิก เมื่อความดันไฮดรอลิกในช่วงจังหวะฉีดถูกปรับให้สูงขึ้น การเคลื่อนที่ของเกลียวหนอนก็จะไปได้ไกลกว่าเล็กน้อย และความดันในแม่พิมพ์ก็จะสูงขึ้นตามด้วย แต่เวลาที่ใช้ในการเติมพลาสติกเหลวให้เต็มในแม่พิมพ์พลาสติกจะสั้นลง ดังรูปที่ 5.16
การตั้งอุณหภูมิของกระบอกฉีดพลาสติกจากต่ำไปสูง
รูปที่ 5.16 อิทธิพลของความดันไฮดรอลิกในช่วงจังหวะฉีด
ในรูปที่ 5.17 แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของความดันไฮดรอลิกในช่วงจังหวะฉีดที่มีต่อความดันในแม่พิมพ์พลาสติก โดยใช้ความดันย้ำที่ต่ำและใช้เวลาเป็นตังสับเปลี่ยนจากจังหวะฉีดสู่จังหวะย้ำรักษาความดัน
การตั้งอุณหภูมิของกระบอกฉีดพลาสติกจากต่ำไปสูง
รูปที่ 5.17 ความดันในแม่พิมพ์พลาสติกเนื่องจากอิทธิพลของความดันไฮดรอลิกในช่วงจังหวะฉีด (พลาสติก PS)
A  =  การเพิ่มขึ้นของความดันสูงสุดที่เกิดขึ้นในแม่พิมพ์พลาสติก
B  =  เส้นความดันในแม่พิมพ์พลาสติกจะชันขึ้นเมื่อความเร็วในการฉีดเพิ่มขึ้น
C  =  เวลาในการฉีดเพื่อเติมพลาสติกเหลวให้เต็มในแม่พิมพ์พลาสติกจะสั้นลง
ในรูปที่ 5.18 แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของคามดันไฮดรอลิกในช่วงจังหวะฉีด (injection) ที่มีต่อความดันในแม่พิมพ์พลาสติกสำหรับพลาสติกที่มีผลึก ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อความดันในแม่พิมพ์พลาสติกในช่วงจังหวะฉีดเท่านั้น ส่วนในช่วงรักษาความดันจะไม่ค่อยมีผลกระทบ
ส่วนอิทธิพลของความดันไฮดรอลิกในช่วงจังหวะย้ำรักษาความดัน (holding) หรือความดันย้ำที่เกิดขึ้นกับพลาสติกเหลวหน้าปลายเกลียวหนอนนั้น โรงงานพลาสติกเราสามารถดูได้จากรูปที่ 5.19 ดังในกรณีที่ 1 ความดันในแม่พิมพ์พลาสติกจะเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาที่สั้น เนื่องจากโรงงานพลาสติกเราใช้ความดันย้ำที่ต่ำนั่นเอง แต่ถ้าใช้ความดันย้ำสูงขึ้น ความดันสูงสุดในแม่พิมพ์พลาสติกก็จะเพิ่มขึ้นได้ และความดันในแม่พิมพ์พลาสติกก็จะเกิดขึ้นเป็นระยะเวลาที่ยาวนานแต่ต้องระมัดระวังอย่าให้เกิดขึ้นนานจนเกินไป เพระอาจจะทำให้เกิดความเครียดในเนื้อชิ้นงานพลาสติกได้
การตั้งอุณหภูมิของกระบอกฉีดพลาสติกจากต่ำไปสูง
รูปที่ 5.18 ความดันในแม่พิมพ์พลาสติกเนื่องจากอิทธิพลความดันไฮดรอลิกในช่วงจังหวะฉีด (พลาสติก PE)
การตั้งอุณหภูมิของกระบอกฉีดพลาสติกจากต่ำไปสูง
รูปที่ 5.19 อิทธิพลของความดันไฮดรอลิกในช่วงจังหวะย้ำรักษาแรงดัน
ในรูปที่ 5.20 ความดันในแม่พิมพ์พลาสติกในช่วงจังหวะย้ำรักษาความดันจะสูงขึ้นเนื่องจากเราใช้ความดันไฮดรอลิกในช่วงนี้สูงขึ้น ซึ่งขนาดของความดันที่เกิดขึ้นจะให้ผลที่แตกต่างกันมากกว่าระยะเวลาที่เกิดขึ้นของความดัน
การตั้งอุณหภูมิของกระบอกฉีดพลาสติกจากต่ำไปสูง
รูปที่ 5.20 ความดันในแม่พิมพ์พลาสติกที่เกิดขึ้นเนื่องจากอิทธิพลของความดันไฮดรอลิกในช่วงจังหวะย้ำรักษาความดัน (พลาสติก PE)
การตั้งอุณหภูมิของกระบอกฉีดพลาสติกจากต่ำไปสูง
รูปที่ 5.21 ความดันในแม่พิมพ์พลาสติกที่เกิดขึ้นเนื่องจากอิทธิพลของความดันไฮดรอลิกช่วงจังหวะย้ำรักษาความดัน (พลาสติก PS)
ในรูปที่ 5.21 จะแสดงให้เห็นถึงระยะเวลาของความดันที่เกิดขึ้นในแม่พิมพ์พลาสติกสำหรับพลาสติกพวกอะมอร์พัส โดยระยะเวลาของความดันที่เกิดขึ้นจะให้ผลที่แตกต่างกันมากกว่าพลาสติกพวกที่มีผลึก ดังนั้นจึงต้องคอยระมัดระวังอย่าใช้ความดันย้ำให้มากจนเกินไปนักสำหรับพลาสติกพวกอะมอร์พัส เพราะจะเกิดความเสียหายแก่ชิ้นงานพลาสติกที่ฉีดได้เนื่องจากความดันตกค้างที่เกิดขึ้นในชิ้นงานพลาสติก
คำจำกัดความในบทนี้
tf          =  เวลาที่ใช้ในการเติมพลาสติกเหลวเข้าจนเต็มในแม่พิมพ์พลาสติก
tp          =  เวลาของความดันที่เกิดขึ้นในแม่พิมพ์พลาสติก
te          =  เวลาเวลาที่ใช้ในการฉีด
tu          =  เวลาในการสับเปลี่ยนจากจังหวะฉีดเข้าสู่จักหละรักษาความดัน
tn          =  เวลาในการย้ำรักษาความดัน
ts          =  เวลาที่ใช้ในการเติมพลาสติกเหลวเข้าจนเต็มในแม่พิมพ์พลาสติก
Vs         =  ความเร็วในการฉีด
VW        =  อุณหภูมิแม่พิมพ์พลาสติก
VM         =  อุณหภูมิพลาสติกเหลว
PM         =  ความดันไฮดรอลิก
PHe        =  ความดันไฮดรอลิกเมื่อพลาสติกเต็มในแม่พิมพ์พลาสติก
pHI         =  ความดันไฮดรอลิกในช่วงจังหวะฉีด
PHII        =  ความดันไฮดรอลิกในช่วงจังหวะย้ำรักษาความดัน
PW         =  ความดันในแม่พิมพ์พลาสติก
PWe        =  ความดันในแม่พิมพ์พลาสติกที่เกิดขึ้นเมื่อพลาสติกเต็มในแม่พิมพ์พลาสติก
PWn        =  ความดันในแม่พิมพ์พลาสติกที่เกิดขึ้นตรงจุดที่สับเปลี่ยนจากจังหวะฉีดเข้าสู่จังหวะย้ำรักษาความดัน
ตอน  1  2  3
โรงงานพลาสติก L.A PLastic
129/20 หมู่4 ซ.เพชรเกษม99 แยก 5
ต.อ้อมน้อย อ. กระทุ่มแบน
จ.สมุทรสาคร 74130 ประเทศไทย

TEL: 081-903-4147

Email: la2plastic@gmail.com
line qr come ติดต่อโรงงานผลิตพลาสติก
LINE ID: @laplastic
Copyright © 2008 by "L.A PLASTIC"  •  All Rights reserved www.laplastic.biz Tel: 081-9034147